อ้วนง่าย แต่ผอมยาก เกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีแก้ไข
อ้วนง่าย แต่ผอมยาก เกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีแก้ไข

ผู้ที่มีภาวะอ้วนง่าย แต่ผอมยาก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางท่านที่ประสบกับปัญหานี้มักจะแก้ไขโดยการอดอาหาร ออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถลดความอ้วนลงได้ อีกทั้งเมื่อภาวะอ้วนแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคสมอง เป็นอันตรายถึงขั้นพิการ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะอ้วนง่าย แต่ผอมยาก ควรแก้ไขปัญหานี้ให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ

 

 

สาเหตุที่ทำให้อ้วนง่าย แต่ผอมยาก

      

  • อายุเยอะขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง จากมวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง การดึงพลังงานจากอาหารที่รับประทานไปใช้งานช้าลง จึงทำให้เกิดไขมันสะสมไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณหน้าท้อง ต้นขา เป็นต้น

      

  • ความเครียด เมื่อเส้นประสาทได้รับความตึงเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ส่งผลให้ร่างกายมีรูปร่างอ้วนมากขึ้น

      

  • ไม่ออกกำลังกาย การที่แคลอรีถูกเผาผลาญนั้น จะต้องเกิดจากการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญได้ดียิ่งขึ้น

      

  • นอนหลับไม่เพียงพอ ผู้ที่นอนไม่ตรงเวลา หรือนอนน้อย จะทำให้ระบบเผาผลาญเกิดการต่อต้านต่ออินซูลิน นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

      

  • โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ไฮโปไทรอยด์ ร่างกายจะทำงานได้ช้าลง เพราะ การผลิตฮอร์โมนออกมาน้อย

      

  • อุณหภูมิในสภาพอากาศที่ลดลง หากอากาศหนาวเย็น ร่างกายจะควบคุมอุณหภูมิในร่างกายอุ่นขึ้นเพื่อต้านอากาศที่หนาวเย็น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น

      

  • พฤติกรรมการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี เช่น การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือการไม่รับประทานอาหารเช้า แม้ว่าจะสามารถลดความอ้วนได้ก็ตาม แต่จะส่งผลเสียต่อระบบการเผาผลาญแคลอรี

 

 

วิธีลดความอ้วนอย่างถูกวิธี

      

  • ทำอาหารรับประทานเอง สามารถควบคุมแคลอรี และวัตถุดิบที่สะอาดในการทำอาหาร

      

  • ลดความหวาน โดยเฉพาะอาหารประเภทผลไม้ ขนม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาสูง แม้ว่าปริมาณแคลอรีจะไม่สูงมากก็ตาม แต่ปริมาณน้ำตาลสะสมในร่างกายมากเกินกว่าที่ระบบเผาผลาญได้หมด ก็ไม่สามารถลดความอ้วนได้

      

  • พักผ่อนให้เพียงพอ  โดยการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมง จะช่วยให้ฮอร์โมนที่ทำการควบคุมความหิว และความอิ่ม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      

  • หลีกเลี่ยงความเครียด หากร่างกายขาดฮอร์โมนคอร์ติซอล จะทำให้มีการอยากรับประทานอาหารรสชาติหวาน  

      

  • ออกกำลังกาย โดยการคาร์ดิโอก่อน แล้วค่อยเวทเทรนนิ่ง ในการออกกำลังกายแต่ล่ะครั้ง ควรทำให้ได้ 45 นาทีขึ้นไป

 

 

การใช้แบคทีเรียในการลดความอ้วน

      

แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในลำไส้ คือ  Bacteroidetes จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญ และลดการดูดซึมไขมัน จะช่วยให้ร่างกายมีรูปร่างที่ดีขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารที่พรีไบโอติกส์ โดยไม่ผ่านความร้อน และการปรุงแต่งรสชาติใดๆ จะช่วยเพิ่มแบคทีเรีย  Bacteroidetes ได้

      

อาหารที่พรีไบโอติกส์ ได้แก่

                

  • ผลไม้ เช่น กล้วย ฝรั่ง และแอปเปิล

                

  • ผักสด เช่น ต้นหอม หอมหัวใหญ่ กระเทียม และมะเขือเทศ

                

  • ธัญพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ และถั่วชนิดต่างๆ

      

ในทางตรงกันข้ามแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในลำไส้ คือ  Firmicutes เป็นแบคทีเรียที่ชอบกินไขมันเป็นอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้มากขึ้น ร่างกายจะได้รับพลังงานมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย หรืออ้วนขึ้น

 

 

 

ลดความอ้วน

 

ข้อควรระวังสำหรับการลดความอ้วน

      

  • ในการลดความอ้วนนั้นไม่ควรใจร้อน เช่น ไม่ควรเข้มงวดกับการควบคุมอาหารมาก ภายในหนึ่งอาทิตย์ อาจจะมีหนึ่งวัน หรือหนึ่งมือ ในการรับประทานอาหารที่อยากรับประทาน ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้ไม่ความเครียดจนเกินไป หากลดความอ้วนจนเกิดความเครียด สามารถส่งผลกระทบได้ เช่น หน้าตาหมองคล้ำ ดูไม่สดใส  รวมทั้งเมื่อมีรูปร่างที่พอใจแล้ว กลับไปรับประทานอาหารในปริมาณเดิม จะทำให้เกิดการอ้วนง่ายขึ้นอีก หรือที่รู้จักกันว่า โยโย่เอฟเฟกต์

      

  • ทั้งนี้ก็ไม่ควรหักโหมในการออกกำลังกาย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ร่างกายเจ็บตัว และต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายได้ปกติ ไขมันที่สะสมในร่างกายก็จะยังคงอยู่ ไม่ได้รับการเผาผลาญแต่อย่างใด

 

 

ผู้ที่มีอ้วนง่าย แต่ผอมยาก มีสาเหตุอื่นๆมากกว่า การรับประทานอาหารในปริมาณเยอะ และไม่สามารถใช้พลังที่รับประทานได้หมด เช่น การดื้อต่ออินซูลิน และปัญหาฮอร์โมนไทรอยด์  ดังนั้นหากควบคุมปริมาณแคลอรี จากอาหารที่รับประทานอย่างเหมาะสม และออกกำลังกายบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่สามารถลดความอ้วนได้ หรืออ้วนมากขึ้น ควรจะพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคร้ายต่างๆ 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

เมื่อร่างกายทำงานช้าลง อาจเป็นอาการของไฮโปไทรอยด์