แก๊สรั่ว ผลกระทบต่อร่างกายที่หมดสติโดยไม่ทันตั้งตัว
แก๊สรั่ว ผลกระทบต่อร่างกายที่หมดสติโดยไม่ทันตั้งตัว

แก๊สรั่ว คือ อุบัติเหตุจากข้างในเคหสถานที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอัคคีภัยที่ลุกลามไปยังสถานที่ข้างเคียง เป็นอันตรายต่อร่างกาย สร้างความเสียหายทางทรัพย์สิน เรามักจะทราบข่าวตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง ต้นเหตุมาจากแก๊สหุงต้มแบบเป็นถัง กระป๋อง ใช้ในครัวเรือน บรรทุกบนยานพาหนะใหญ่ ที่บรรจุส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด ได้แก่ โพรเพนและบิวเทน หากมันมีความผิดปกติขึ้น แล้วสูดดมเข้าไป สามารถหมดสติได้

 

 

แก๊สรั่วเกิดจากอะไร

 

  • ไม่ทราบข้อมูลการใช้งานของแก๊สหุงต้มอย่างแท้จริง

 

  • ประมาทขณะที่เตาแก๊สกำลังทำงาน

 

  • ติดตั้งในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น วางถังโดยการนอน

 

  • ใช้ในผิดคุณลักษณะ อาจนำมาสูดดม ใช้อาบน้ำอุ่น

 

  • สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยแก่การใช้งาน โดยเฉพาะจากห้องครัวที่ไม่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

 

  • ความเสื่อมของอุปกรณ์ที่มาจากทางร้าน

 

 

ถังแก๊ส

 

 

แก๊สรั่วเป็นอย่างไร

 

สังเกตความผิดปกติดังนี้

 

  • ได้กลิ่นเหม็นคล้ายสารที่อยู่ในไฟแช็ก

 

  • จะได้ยินเสียงดัง ฟู่ ๆ ใกล้ตัวถัง

 

  • บนพื้นบริเวณนั้นจะมีคราบสีขาว และฝุ่นละออง

 

  • ในเคหสถานถ้ามีภาชนะบรรจุน้ำขนาดใหญ่อยู่ จะเห็นฟองอากาศขึ้นมา

 

  • สภาพแวดล้อมภายนอก หากมีต้นไม้ ดอกไม้ พืชนานาชนิด มันจะเหี่ยวเฉาลง

 

 

แผลไฟไหม้

 

 

ผลกระทบจากแก๊สรั่ว

 

  • เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยลง

 

  • ปวดและวิงเวียนศีรษะ

 

  • มึนงง

 

  • หน้ามืด

 

  • หายใจลำบาก

 

  • คลื่นไส้

 

  • อาเจียน

 

  • ระบบทางเดินหายใจรวมทั้งการมองเห็นระคายเคืองขึ้น

 

  • หลอดลม จมูกอักเสบ เยื่อบุตามีการอักเสบ

 

  • แผลไหม้

 

  • แสบร้อน ผิวหนัง

 

  • หมดสติ

 

  • ชัก

 

  • เสียชีวิต

 

 

แผลไฟไหม้

 

 

แก๊สรั่วทำอย่างไร

 

  • ตั้งสติ ไม่ควรตกใจ

 

  • นำอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟให้ห่างจากจุกแก๊สรั่ว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟแช็ก ไม้ขีด เทียนไขที่ติดไฟอยู่

 

  • ปิดวาล์วตรงถังแก๊สทันที

 

  • เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก

 

  • นำผ้าชุบน้ำมาปิดปาก จมูก กันการสูดดมแก๊ส

 

  • ยกถังที่มีการรั่วออกไปไว้ในที่โล่ง ๆ

 

  • เมื่อรู้สึกแสบร้อนผิวหนัง แช่น้ำอุ่น อุณหภูมิไม่เกิน 41 องศาเซลเซียส

 

  • หากแสบตาให้ถอดอุปกรณ์คอนแทคเลนส์ออก แล้วล้างด้วยน้ำอุ่นสะอาด โดยให้เปลือกตาอยู่ห่างจากลูกตา จะชำระได้ทั่วถึง

 

  • เมื่อพบผู้หมดสติต้องเคลื่อนย้ายไปในพื้นที่หายใจสะดวก จากนั้นทำการเขย่าตัว เรียกชื่อ ทำการผายปอด รีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

 

 

ซ้อมอุบัติภัย

 

 

การป้องกันแก๊สรั่ว

 

  • เรียนรู้การใช้งานแก๊สหุงต้มอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ปิด-เปิด เล่น หรือปิดวาล์วทุกครั้งที่ใช้งาน

 

  • หมั่นตรวจสอบและสังเกตความผิดปกติ

 

  • ใช้ภาชนะให้เหมาะสมกับขนาดเตา

 

  • หากต้องแก้ไขอุปกรณ์ ให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญมาทำแทน ไม่ควรทำเองโดยพลการ

 

  • หากไม่มีผู้ดูแล ควรปิดให้สนิทและไม่เปิดใช้ครั้งเดียวในระยะเวลานาน

 

  • เลือกใช้บริการบริษัทจัดจำหน่ายที่มีคุณภาพ

 

  • ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

 

 

เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้เสมอ จัดสภาพแวดล้อมภายในให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และตระหนักถึงวิถีชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ จนละเลยความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจขาเลือด โลหิตจาง หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ความดันโลหิตสูง  หากประสบเหตุแก๊สรั่วจะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าบุคคลธรรมดา

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง