โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน ภัยร้ายสู่การสูญเสียอวัยวะสำคัญ

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่ทุกคนมีความเสี่ยงไม่แพ้โรคอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเอง แม้ว่าเราจะไม่ได้อ้วนนั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้มาจากปัญหาด้านอินซูลินในร่างกายที่มีน้อยกว่ามาตรฐาน เป็นผลให้น้ำตาลในร่างกายมีปริมาณมาก จนก่อเกิดโรคเบาหวานในที่สุด นอกจากนี้โรคร้ายนี้ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หาย และมีอยู่ด้วยกันถึง 2 ชนิด เมื่อรู้แบบนี้แล้วหลายคนคงสงสัยกันแล้วว่าใครบ้างที่มีความเสี่ยง และโรคนี้มีอาการเป็นอย่างไรสามารถอ่านได้ในบทความนี้ 

 

สาเหตุของโรคเบาหวาน

 

โรคเบาหวานมีอยู่ 2 ชนิด และสาเหตุเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” ได้หรือสร้างได้น้อย ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลในร่างกายเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกาย แต่เมื่อฮอร์โมนอินซูลินมีน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลได้ ส่งผลให้ในกระแสเลือดมีน้ำตาลมากเกินไป จึงถูกกรองออกผ่านทางปัสสาวะ จะทำให้มีมดมาตอมปัสสาวะของเรา อย่างที่เราเคยอ่านมาจากที่ต่าง ๆ นั่นแหละ

 

 

 

โรคเบาหวานมีหลายชนิด

 

ถึงแม้โรคนี้จะมีโอกาสเป็นได้ง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคดังกล่าวมีแค่ชนิดเดียว ในที่นี้จะจำแนกออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
 

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1

ส่วนมากจะพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อย คือ ช่วงวัยเด็ก ไปจนถึงกลุ่มคนที่อายุไม่เกิน 30 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ ผู้ป่วยในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักมีร่างกายที่ซูบผอมและต้องทำการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเป็นประจำ หากผู้ป่วยเกิดอาการขาดอินซูลินจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Ketusisc คลั่งในเลือด และอาจหมดสติได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยในเบาหวานชนิดที่ 1 มีโอกาสเป็นภาวะคิโตซิส (Ketosis) อีกด้วย

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

สำหรับชนิดที่ 2 นั้นเป็นชนิดที่เกิดขึ้นกับคนไทยมากที่สุด และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีรูปร่างอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยสาเหตุมาจากการที่ภาวะร่างกายดื้ออินซูลิน (ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดี) โดยถ้าหากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายจะพยายามให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้ตับอ่อนทำงานหนักมากจนเกินไปนั่นเอง

  • โรคเบาหวานชนิดอื่น ๆ จากสาเหตุต่าง ๆ 

สาเหตุต่าง ๆ ในที่นี้ เช่น การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่มีผลทำให้เสี่ยงเกิดโรค หรือจะเป็นการติดต่อมาผ่านทางพันธุกรรมก็มี รวมไปถึงการเป็นโรคที่ส่งผลต่อตับอ่อนโดยตรง เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น ก็มีผลทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การมีโอกาสสุ่มเสี่ยงขณะตั้งครรภ์เกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการผลิตสารต่อต้านอินซูลินนั่นเอง ในจุดนี้หากผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่สามารถเพิ่มอินซูลินในร่างกายให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะมีผลต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้ เช่น เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดสภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด เป็นต้น ซึ่งหากได้ทำการคลอดลูกเรียบร้อยแล้วอาจทำให้อาการสุ่มเสี่ยงลดน้อยลง แต่ก็ควรหมั่นเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพื่อความมั่นใจได้เช่นกัน และโรคชนิดนี้ส่วนมากจะเกิดจากผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

 

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

  • ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อย เกิดจากที่ตอนปัสสาวะน้ำตาลดึงน้ำจากเลือดออกมาด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยกระหายน้ำมากขึ้นตามไปด้วย

  • ร่างกายซูบผอมลงเนื่องจากเมื่อร่างกายไม่มีพลังงานจากน้ำตาล ร่างกายจึงหันไปเผาผลาญไขมันและกล้ามเนื้อแทนทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีร่างกายเริ่มซูบผอมและไม่มีแรง เมื่อมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

  • สายตาพร่ามัว เนื่องจากจอตาเสียหายจากน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไปในระดับรุนแรงที่สุดจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
     

 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

 

ภาวะที่แทรกเข้ามาที่พบมากคือ “ภาวะเบาหวานขึ้นตา” เมื่อน้ำตาลในเลือดมีปริมาณมากจะทำให้เส้นเลือดที่จอตาเกิดความเสียหาย ในช่วงแรก ๆ อาจไม่มีผลต่อการมองเห็นมาก แต่หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไปเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ดังนั้นจึงควรเข้าพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ 

 

การป้องกันโรคเบาหวาน

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

  • ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง และไม่ควรทานหวานมากจนเกินไป หากเป็นเนื้อสัตว์ควรทานเนื้อสีขาว ไม่ติดมัน เช่น ปลา ไก่ เป็นต้น

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

 

การรักษาโรคเบาหวาน

 

โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้มีอาการรุนแรงได้ โดยปกติหากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ แพทย์จะให้สารอินซูลินสังเคราะห์ ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรบางชนิดที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ตำลึง มะระขี้นก มะแว้งต้น ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น

 

ถึงแม้โรคเบาหวานจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

____________________________________


ติดต่ออายุรกรรม

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-19.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 18.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390