โรคพิษสุราเรื้อรัง
โรคพิษสุราเรื้อรัง สายดื่มควรระวังไว้ให้ดี

 

โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือ Alcoholism คือ อาการที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มในแต่ละวันได้ หากดื่มเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน จะทำให้แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

 

 

โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุใด 

 

 

  • เครียด มีปัญหารุมเร้า ทุกวันต้องเผชิญแรงกดดันเป็นประจำ

 

 

  • มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง 

 

 

  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ

 

 

  • รู้สึกมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ

 

 

 

 

  • อยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสังคมที่ส่วนใหญ่จะดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

 

 

โรคพิษสุราเรื้อรัง มีอาการอย่างไร 

 

 

  • มีความอยาก หรือกระหายที่จะดื่มสุราตลอดเวลา 

 

 

  • ไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มได้ 

 

 

  • มีพฤติกรรม และอารมณ์ที่แปรปรวน

 

 

  • เกิดความรู้สึกผิด หลังจากดื่มสุราในปริมาณมาก 

 

 

  • ทุกเช้าจะต้องดื่มแอลกอฮอล์ซ้ำ เพื่อลดความมึนเมาลง หรือที่เรียกว่าการถอน 

 

 

โรคพิษสุราเรื้อรัง มีอาการหลังหยุดดื่มอย่างไร 

 

 

อาการลงแดง

 

 

อาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่หยุดดื่มสุราแบบทันที โดยจะเกิดอาการลงแดงทุก 12-72 ชั่วโมง ซึ่งจะมีอาการดังนี้ 

 

 

  • อารมณ์แปรปรวน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาการเพ้อคลั่งจากสุรา 

 

 

อาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่อด หรือไม่ได้ดื่มสุรา อาการจะเกิดขึ้น 2-3 ชั่วโมงหลังจากขาดสุรา และจะหนักมากขึ้นหลังจากขาดสุราเป็นระยะเวลา 48-72 ชั่วโมง อาการนี้อาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษา 

 

 

การวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง 

 

 

ถ้าหากพบว่ามีบุคคลใกล้ตัว หรือตนเอง เข้าข่ายอาการโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย โดยแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัย ดังนี้

 

 

  • แพทย์จะสอบถามพฤติกรรมของผู้ป่วย หรือบุคคลใกล้ตัว รวมถึงอาจจะสอบถามข้อมูลประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายของผู้ป่วยเบื้องต้น 

 

 

  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาความผิดปกติในร่างกายของผู้ป่วยโดยใช้การตรวจทางรังสีวิทยา

 

 

 

 

  • ทดสอบจิตวิทยา โดยใช้แบบทดสอบ อย่างเช่น สอบถามความคิด พฤติกรรม อาการ และความรู้สึกผิดปกติ เพื่อประเมินสุขภาพจิตของผู้ป่วย

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคพิษสุราเรื้อรัง 

 

 

 

 

 

 

  • ระบบประสาทผิดปกติ เช่น โรคสมองเสื่อม มือ และเท้าชา 

 

 

  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายมากกว่าผู้อื่น 

 

 

 

 

การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง 

 

 

แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้ลด หรือหยุดการดื่มแอลกอฮอล์ ควบคู่กับการให้ยาบรรเทาอาการขาดสุรา ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง แพทย์จะเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และจะให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลควบคู่ไปด้วย เมื่ออาการดีขึ้นแพทย์จะอนุญาตให้กลับได้ แต่ผู้ป่วยควรต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

 

 

 

 

การป้องกันโรคพิษสุราเรื้อรัง 

 

 

จำกัดปริมาณการดื่มของตนเอง ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขแนะนำไว้ว่า ในแต่ละวันผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 4 ดื่มมาตรฐาน และผู้หญิงไม่ควรเกิน 2 ดื่มมาตรฐาน 

 

 

1 ดื่มมาตรฐานของแอลกอฮอล์ จะเท่ากับ 

 

 

  • เบียร์ 360 มิลลิลิตร 

 

 

  • สุรา 45 มิลลิลิตร 

 

 

  • ไวน์ 150 มิลลิลิตร 

 

 

โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งโรคที่สายดื่มควรระวังไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ท่านใดที่เข้าข่ายว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิด จะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ รับคำแนะนำ

การรักษา และการป้องกันตัวเอง 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ 

 

 

ดื่มสุราช่วงฤดูหนาว เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตสูง

 

 

แอลกอฮอล์เป็นพิษ คิดสักนิดก่อนจะดื่ม