ท้องนอกมดลูก
ท้องนอกมดลูก ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรเพิกเฉย

 

ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ แล้วกลายเป็นตัวอ่อน และไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก ซึ่งการท้องนอกมดลูกอาจจะเห็นได้ชัด เมื่อมีการตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้

 

 

ท้องนอกมดลูก เกิดจากสาเหตุใด 

 

 

  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน

 

 

  • การใช้ห่วงคุมกำเนิด

 

 

  • เกิดจากความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังของท่อนำไข่

 

 

 

 

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

 

 

  • ฮอร์โมนในกระบวนการตั้งครรภ์ไม่สมดุล

 

 

ท้องนอกมดลูก มีอาการอย่างไร

 

 

 

 

  • มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดออกไม่มาก

 

 

  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน

 

 

 

 

 

 

  • ในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดภายในช่องท้อง 

 

 

  • ปวดบริเวณท้องน้อย, ไหล่, ลำคอ และทวารหนัก

 

 

สัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดการท้องนอกมดลูก

 

 

  • ปวดบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง 

 

 

  • มีเลือดออกแบบกะปริบกะปรอย 

 

 

  • เจ็บไหล่, ผิวซีด, หมดแรง 

 

 

วิธีวินิจฉัยการท้องนอกมดลูก

 

 

 

 

  • แพทย์จะถามประวัติประจำเดือน และอาการต่าง ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่

 

 

  • ทดสอบการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะ

 

 

  • การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน

 

 

  • การตรวจภายใน หากผู้ป่วยรู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณอุ้งเชิงกราน

 

 

  • การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่บริเวณหน้าท้อง และช่องคลอด

 

 

ท้องนอกมดลูกรักษาอย่างไร

 

 

การใช้ยา

 

 

แพทย์จะให้ยาเมโธเทรกเซทแก่ผู้ป่วย โดยเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่สามารถเจริญเติบโตได้ หากการใช้ยาไม่ตอบสนองต่อผู้ป่วย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นวิธีการผ่าตัดในลำดับต่อไป

 

 

การผ่าตัด

 

 

แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง โดยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย 

 

 

ภาวะแทรกซ้อน

 

 

หากมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด แพทย์อาจจะให้เลือดแก่ผู้ป่วย เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป หรือถ้าหากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากการอักเสบ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาลดอาการอักเสบ

 

 

วิธีป้องกันการท้องนอกมดลูก

 

 

  • สังเกตอาการขณะตั้งครรภ์ หากมีความผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที

 

 

  • ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์

 

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้

 

 

 

 

 

 

ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่มีความอันตรายต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อพูดคุย และปรึกษาแนวทางในการดูแลตนเอง และทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณแม่ และทารก  

 

 

แหล่งอ้างอิง 

 

Pobpad : https://bit.ly/44b8ObX

 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล : https://bit.ly/3Qa3i3t

 

โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : https://bit.ly/3UsMt6B

 

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : https://bit.ly/3WbWpCL



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

สูตินรีเวช

 

โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์

 

ครรภ์เสี่ยง อันตรายที่คุณแม่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง

 

ตั้งครรภ์ตอนอายุมากเสี่ยงอย่างไร