Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
คลินิกอายุรกรรม
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
สูตินรีเวช
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
ปอดอักเสบในเด็ก ภัยร้ายที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ
  ทารกหรือเด็กที่เกิดมา แน่นอนว่าภูมิคุ้มกันจะไม่ได้สูงเท่าผู้ใหญ่ การเกิดโรคอะไรสักอย่างก็อาจจะมีอาการที่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูก ๆ ให้ดี โดยเฉพาะปอดอักเสบ หรือที่เรารู้จักและเรียกกันว่าปอดบวม     ปอดอักเสบในเด็ก ติดต่อยังไง     การสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอดโดยตรง    ติดต่อจากทางกระแสเลือด โดยเป็นการติดเชื้อจากบริเวณหนึ่งแล้วแพร่กระจายมาสู่ปอด   การแพร่จากมือคนที่มีสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโรคปนอยู่ แล้วเกิดการติดต่อไปสู่อีกคนหนึ่ง   เกิดการสำลักเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนเข้าสู่ปอด ณ ขณะที่มีการติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว         ปอดอักเสบในเด็ก อาการเป็นอย่างไร     จะมีอาการไอ หอบ หายใจเร็ว และเป็นไข้สูง   เด็กมีอาการซึม ดูไม่สบายเนื้อตัว   หายใจแรงขึ้นและลำบาก   เจ็บหน้าอก อาเจียน ปวดท้อง   เสมหะมีสีเขียวและสนิม หรืออาจจะปนเลือด    ไม่กินนมหรืออาหาร     จากอาการที่กล่าวมา คุณพ่อหรือคุณแม่ท่านใด สังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการที่เหมือนหรือคล้ายคลึง เราไม่สามารถดูออกได้ว่าอาการที่ลูกแสดงออกมา เขาเป็นโรคอะไรหรือเปล่า ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน     การวินิจฉัยปอดอักเสบในเด็ก     การฉายภาพรังสี เพื่อดูความรุนแรงของเชื้อภายในร่างกายของเด็ก   อาจจะใช้วิธีการตรวจเสมหะเพื่อหาเชื้อ    ตรวจเลือด         การรักษาปอดบวมในเด็ก     การรักษาทั่วไป     รักษาตามอาการ เช่น ให้รับประทานยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ    ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือถ้าเป็นเคสที่หอบและหายใจลำบาก ควรให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ    งดให้รับประทานอาหารเพื่อป้องกันการสำลัก    ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ   กายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยขับเสมหะจากปอดและหลอดลมดีขึ้น   การรักษาแบบเฉพาะ     กรณีที่เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ให้เลือกยาปฏิชีวนะให้เหมาะสมกับเชื้อแต่ละชนิด    กรณีที่เกิดการติดเชื้อไวรัส จะรักษาตามอาการ เพราะไม่มียาที่จะรักษาแบบเฉพาะ และรวมถึงการบำบัดรักษาผู้ป่วยตรงบริเวณระบบทางเดินหายใจอย่างเหมาะสม เช่น ดูดเสมหะ หรือเคาะปอด         ปอดอักเสบในเด็ก จะป้องกันอย่างไร     ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย    ถ้าลูกมีอาการไอหรือเริ่มสังเกตว่าหายใจลำบาก หอบ หายใจเร็ว ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที   ถ้าลูกอายุ 1-3 ปี ควรให้ผู้ปกครองดูแลเอง    นำลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค    รักษาสุขภาพลูกให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำเยอะ ๆ      โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกกันว่าโรคปอดบวมนั้น อันตรายอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เกิดกับผู้ใหญ่ แต่เด็กก็เป็นเช่นกัน ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตดูลูกหลานว่าร่างกายของพวกเขาแข็งแรงหรือไม่ ถ้ามีอาการที่เข้าข่ายว่าจะเป็นโรคปอดอักเสบ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการให้เร็วที่สุด     เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ   โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด   โรคปอดอักเสบอันตรายถึงชีวิต หากไม่คิดป้องกัน   วัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย
อ่านเพิ่มเติม
ก่อนจะมาเป็นไส้เลื่อน ความผิดปกติที่สังเกตได้
ไส้เลื่อน ภาวะความผิดปกติของร่างกายจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเยื่อบุช่องท้องไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องมีความอ่อนแอ ได้รับอุบัติเหตุหรือเข้ารับการผ่าตัด รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดสุขลักษณะโดยไม่ทราบตนเอง เช่น ไอ จามอย่างรุนแรง ยกของที่มีน้ำหนักมาก เบ่งก้อนอุจจาระขณะขับถ่าย เป็นต้น     อาการก่อนที่จะมาเป็นโรคไส้เลื่อน     มีก้อนนูนออกมาจากภายในร่างกายบริเวณช่องท้อง     หากไม่มีก้อนนูนขึ้นมา อาจเกิดการอาเจียน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก     มีอาการเจ็บ ปวด จุก แน่น ภายในท้อง     อาการจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดการไอ จาม หรือยกของที่มีน้ำหนักเยอะ     มีความเสี่ยงที่ลำไส้จะเกิดการอักเสบ ทำให้ไม่สามารถนำกลับเข้าไปได้ใหม่ อาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิต           การวินิจฉัยไส้เลื่อน ทำอย่างไร     ตรวจร่างกายด้วยวิธีการคลำก้อนนูน โดยจะให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือยืน     ตรวจเช็คก้อนด้วยการให้ผู้ป่วยไอ เพื่อให้เกิดการเบ่ง และสังเกตว่ามีก้อนนูนหรือไม่      แพทย์อาจจะมีการตรวจโดยใช้วิธีอัลตราซาวนด์ หรือ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อผลไม่แน่ชัดหรือต้องการผลเพิ่มเติมแบบละเอียด     ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรมาทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันอันตรายจากความรุนแรงที่เสี่ยงจะเกิดขึ้น ทั้งนี้หลังรับการรักษา ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยกากใยสูง หลีกเลี่ยงการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป งดสูบบุหรี่ รวมทั้งควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ     เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง     ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด     ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง     ไส้เลื่อนกับผู้สูงอายุ     ไส้เลื่อนขาหนีบ โรคที่คุณผู้ชายควรอ่าน     ไส้เลื่อนที่สะดือ ภาวะในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ควรมองข้าม     ไส้เลื่อนกระบังลม
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
114
นัดหมายออนไลน์ : วัน
1203
ผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
45
ปี ที่ดูแล