แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้
แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer Disease) คือโรคที่เกิดแผลในอวัยวะระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งการหลั่งน้ำย่อย หรือกรดที่ออกมาทำลายเยื่อบุในบริเวณส่วนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย แต่มักจะพบผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะการปวดท้องเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ เมื่อบรรเทาลงก็คิดว่าหายแล้ว จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ สิ่งเหล่านี้อาจดูไม่รุนแรง แต่ส่งผลกระทบรบกวนต่อคุณภาพของชีวิตประจำวันได้

 

 

แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

 

สาเหตุที่ทำให้น้ำย่อย และกรดไม่สมดุลกันจนเกิดแผลขึ้น ได้แก่

 

การติดเชื้อโรค

 

  • แบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori)

 

การใช้ยา

 

  • แอสไพริน (Aspirin)

 

  • ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)

 

  • นาโปรเซน (Naproxen)

 

  • สเตียรอยด์ (Steroids)

 

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

 

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ และกระดูกพรุน

 

พฤติกรรม

 

  • เครียด

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

  • รับประทานอาหารรสเผ็ดจัด

 

 

Peptic Ulcer Disease

 

 

อาการแผลในกระเพาะอาหาร

 

  • แน่นท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร

 

  • แสบร้อนกลางอก

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • หายใจลำบาก

 

  • รู้สึกจะเป็นลม

 

  • น้ำหนักลดลง

 

  • เบื่ออาหาร

 

 

การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ สอบถามอาการ ระยะเวลาในการเกิดโรค การใช้ยาในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งบุคคลในครอบครัวเคยประสบกับโรคนี้หรือไม่ หลังจากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมได้แก่

 

  • ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy)

 

  • การตรวจหาแบคทีเรียจากเลือด (Blood Test) หรืออุจจาระ (Stool Antigen Test)

 

  • เอกซเรย์ด้วยการกลืนแป้งแบเรียม (Upper GI Series)

 

 

Drug

 

 

วิธีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ยาปฏิชีวนะ

 

  • Amoxicillin

 

  • Clarithromycin

 

  • Metronidazole

 

  • Tinidazole

 

  • Tetracycline

 

  •  Levofloxacin

 

ยาเคลือบกระเพาะอาหาร

 

  • Sucralfate

 

  • Misoprostol

 

ผ่าตัด

 

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีเลือดออก หรืออวัยวะทางเดินอาหารฉีกขาด

 

 

แผลในกระเพาะอาหารห้ามกินอะไร

 

  • อาหารรสจัด เช่น ส้มตำ ผัดเผ็ด และน้ำพริก

 

  • ผัก ผลไม้หมักดอง เช่น ผักกาดกระป๋อง มะม่วงแช่อิ่ม

 

  • อาหารประเภททอดกรอบ เช่น ลูกชิ้นทอด ไก่กรอบ กล้วยแขก

 

  • น้ำอัดลม

 

  • กาแฟ

 

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

  • อาหารที่มีอุณหภูมิร้อนจัด หรือเย็นเกินไป

 

 

แผลในกระเพาะอาหารควรรับประทานอะไร

 

อาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด ได้แก่

 

  • ซุป

 

  • โจ๊ก

 

  • ข้าวต้ม

 

  • น้ำเต้าหู้

 

 

Surgery

 

 

แผลในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

 

ขึ้นอยู่กับของแพทย์ และการปฏิบัติหลังรักษาของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักจะใช้ยาติดต่อกัน 4-8 สัปดาห์แผลจึงหายขาด

 

ในส่วนที่กลับมาเป็นอีก เพราะว่า ไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น หยุดยาเอง สูบบุหรี่ รับประทานอาหารสุกๆ ดิบ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กติดเชื้อใหม่ได้อีกครั้ง

 

 

การป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร

 

  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด

 

  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

 

  • คลายความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น รับชมภาพยนตร์ ฟังเพลง นั่งสมาธิ

 

 

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการดื่มนม หรือรับประทานผลไม้ เพราะบางทีอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด รวมทั้งไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ท่านใดที่ปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหา และรักษาอย่างเหมาะสม เพราะบางทีอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย เช่น มะเร็งก็เป็นได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้