กล้ามเนื้ออักเสบ
กล้ามเนื้ออักเสบ อาการอันตรายที่ท่านไม่ควรละเลย

 

กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) เป็นอาการ หรือภาวะที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก จึงทำให้เกิดการอักเสบ โดยอาจจะเกิดขึ้นในระยะสั้น หรืออาจจะพัฒนากลายเป็นเรื้อรังในอนาคตได้ 

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากสาเหตุใด

 

 

  • กล้ามเนื้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน 

 

 

 

 

 

 

  • การเล่นกีฬาที่มีการใช้แรง การเข้าปะทะ และการกระแทก เช่น ฟุตบอล ว่ายน้ำ เทนนิส เป็นต้น

 

 

  • การออกกำลังกาย หรือยกของหนักเกินไป

 

 

  • การใช้ยารักษาโรคบางประเภท เช่น ยาโคลชิซิน ยาลดไขมันในเลือด และยาไฮดรอกซีคลอโรควิน เป็นต้น 

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ อาการเป็นอย่างไร 

 

 

 

 

  • ปวดร้าวตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ

 

 

  • ระดับของการปวดมีได้ตั้งแต่ ล้า เมื่อย อาจไปถึงปวดจนทรมานแบบไม่สามารถขยับร่างกายส่วนที่ปวดได้

 

 

  • มีการจำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณกล้ามเนื้อที่อักเสบ

 

 

  • หากอักเสบมากขึ้น อาจจะมีอาการบวม แดง และร้อน 

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ อาจส่งผลไปสู่อาการใดได้บ้าง

 

 

  • กล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว

 

 

 

 

 

 

การวินิจฉัยกล้ามเนื้ออักเสบ

 

 

การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ

 

 

คือ การสอดขั้วกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเข็มเล็ก ๆ จิ้มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ การตรวจประเภทนี้ จะช่วยหากล้ามเนื้อที่ถูกทำลาย หรืออ่อนแอ จากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ 

 

 

MRI Scan 

 

 

การตรวจ MRI เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง เพื่อดูโครงสร้างของเนื้อเยื่อ ไปจนถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่มีการอักเสบ ฉีกขาด หรือบาดเจ็บ เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำ และความปลอดภัยสูง

 

 

การเอกซเรย์

 

 

เป็นการตรวจเพิ่มเติม จากกรณีที่แพทย์เกิดความสงสัยเกี่ยวกับภาวะ หรือสาเหตุต่าง ๆ เป็นการตรวจที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน รวมถึงสามารถบอกระยะของโรคที่เป็นอยู่ และทำให้แพทย์วางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยได้

 

 

เก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อ

 

 

แพทย์จะหากล้ามเนื้อบริเวณที่อ่อนแอ แล้วทำการผ่าตัด จากนั้นจะส่งต่อไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุการบาดเจ็บ หรืออักเสบ แต่วิธีนี้เป็นการวินิจฉัยที่ทำได้ยาก และต้องตรวจสอบกล้ามเนื้ออย่างละเอียด 

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ มีวิธีการรักษาอย่างไร 

 

 

  • รักษาโดยการใช้ และรับประทานยาแก้อักเสบ หรือคลายกล้ามเนื้อ (ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์)

 

 

  • ประคบร้อนบริเวณที่เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ

 

 

 

 

  • ทำกายภาพบำบัด 

 

 

  • หากไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด หากปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ ป้องกันได้อย่างไร 

 

 

  • ไม่ควรฉีดสารทุกชนิดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือด หากจำเป็นต้องฉีดยารักษาโรคจริง ๆ ควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด

 

 

  • ฉีดวัคซีนป้องไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะไข้หวัดใหญ่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้

 

 

  • หากจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลข้างเคียง ที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ ควรใช้ในปริมาณที่แพทย์แนะนำ

 

 

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ที่อาจส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ

 

 

 

 

  • ไม่ออกกำลังกายหักโหม ควรออกแต่พอดี 

 

 

กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับนักกีฬา ประเภทที่มีการเข้าปะทะระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง การออกกำลังกาย หรือบุคคลที่ต้องทำงานยกของหนักเป็นประจำ ซึ่งกล้ามเนื้ออักเสบถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เพราะอาจส่งผลให้ท่านเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขึ้นได้ หากท่านมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำ และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ จากนั้นแพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับท่าน



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) มัจจุราชไร้เงาที่เราต้องระวัง

 

กล้ามเนื้อบิดเกร็ง ความเสี่ยงผิดปกติจากโรคระบบประสาท