ภาวะพาร์สเมีย เมื่อประสาทรับรสและกลิ่นเพี้ยนจากโควิด-19
ภาวะพาร์สเมีย เมื่อประสาทรับรสและกลิ่นเพี้ยนจากโควิด-19

พาร์สเมีย (Parosmia)  คือภาวะความผิดปกติภายหลังจากได้รับเชื้อโควิด-19 มักจะเกิดขึ้นหลังเมื่อรักษาหายแล้วทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยประสาทรับรส และกลิ่นเพี้ยนไปจากเดิม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร รวมถึงสภาพจิตใจที่อาจประสบกับภาวะวิตกกังวล หรือซึมเศร้าได้อีกด้วย

 

 

สาเหตุภาวะพาร์สเมีย

 

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการทั้งจากนักวิทยาศาสตร์ หรือแพทย์ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทการรับรู้ด้านกลิ่นจากประเทศอังกฤษ สันนิษฐานไว้ว่า เชื้อโควิด-19 ทำให้เซลล์ประสาทพิเศษในจมูกไม่สามารถจับกลิ่น และแปลงข้อมูลในลักษณะที่สมองสามารถเข้าใจได้ ผลจากการทำงานการรับรู้ของกลิ่นน้อยลง ทำให้รับรู้สารประกอบของกลิ่นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

 

 

Parsmia

 

 

อาการภาวะพาร์สเมีย

 

  • ได้กลิ่นผิดปกติ เช่น ดมมะนาวได้กลิ่นเป็นกะหล่ำปลีเน่า หรือไอศกรีมช็อกโกแลตกลายเป็นน้ำมันดิน

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • น้ำหนักลด

 

  • ไม่ค่อยออกไปสังสรรค์เข้าสังคม

 

 

อาหารที่ทำให้เกิดภาวะพาร์สเมีย

 

  • กาแฟ

 

  • เนื้อสัตว์

 

  • หัวหอม

 

  • กระเทียม

 

  • ไข่

 

  • ยาสีฟันรสมิ้นต์

 

รวมทั้งกลิ่นของน้ำประปาที่ไหลจากอ่างล้างหน้า อาจได้กลิ่นของท่อน้ำทิ้ง และเครื่องสำอาง ก็เปลี่ยนเป็นกลิ่นไหม้ได้

 

 

Parsmia

 

 

ทำอย่างไรหากเป็นภาวะพาร์สเมีย

 

  • รับประทานอาหารอุณหภูมิห้อง หรือเย็นกว่า

 

  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด ย่าง ที่ใช้วัตถุดิบทำให้เกิดภาวะดังกล่าวในหัวข้อข้างต้น

 

  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่มีรสชาติจืดขึ้น ไม่ผสมกลิ่นปรุงแต่ง เช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักนึ่ง ขนมปังที่ไม่ผ่านการปิ้ง รวมทั้งโยเกิร์ตรสดั้งเดิม

 

  • รับประทานโปรตีนปั่นแบบไม่มีรสชาติ

 

  • ฝึกดมกลิ่นอย่างน้อย 4 กลิ่นที่แตกต่างกันวันละ 2 ครั้ง ทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน

 

  • จดบันทึกอาหารที่ยังคงสามารถรับประทานได้ และไม่สามารถบริโภคได้

 

 

แม้ว่ายังไม่มีผลการวิจัยทางวิชาการออกมาถึงสาเหตุ และการรักษาของภาวะพาร์สเมีย แต่แพทย์ที่ได้รักษาผู้ป่วยภาวะนี้พบว่าส่วนใหญ่มีอาการที่ดีขึ้น จนกระทั่งหายขาด สามารถกลับไปรับประทานอาหาร หรือเข้าสังคมเพื่อสังสรรค์ได้อย่างเป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ปกครองควรสังเกตบุตรหลานที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หากมีอาการผิดปกติควรปรึกาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



 

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจสุขภาพหลังติดโควิด LONG COVID