รวมข้อสงสัยโปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
รวมข้อสงสัยโปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

Q : สนใจแพคเกจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากสนใจแพคเกจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ LINE คลิก เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำการเข้ารับบริการตั้งแต่พบแพทย์จนถึงการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

 

 

 

Q : แพทย์ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้มีท่านใดบ้าง และออกตรวจในวันและเวลาใดบ้าง

 

 

A : แนะนำแพทย์ นพ.วิจักษณ์ กาญจนอุทัย สามารถนัดหมายหรือตรวจสอบคิวแพทย์ได้ที่ LINE คลิก

 

 

 

Q : แพคเกจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วหรือไม่

 

 

A : ก่อนเข้าแพคเกจจะมีค่าพบแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัยเพื่อส่องกล้อง ทั้งนี้หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าแพคเกจได้จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

 

 

Q : ก่อนเข้าแพคเกจจะต้องพบแพทย์จะมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง

 

 

A : ค่าพบแพทย์ก่อนส่องกล้องประมาณ 700 บาทขึ้นไป ค่าบริการรพ. 200 บาท (ไม่รวมกรณีส่งตรวจอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม) และมีค่าตรวจร่างกายก่อนส่องกล้องประมาณ 2,000-5,000 บาท

 

 

 

Q : หลังจากส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ตรวจพบชื้นเนื้อจะทำอย่างไร

 

 

A : หลังจากส่องกล้องหากพบความผิดปกติหรือพบชื้นเนื้อ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อออกมา และส่งตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อไป (กรณีตรวจพบชื้นเนื้อ จะมีการส่งตรวจหาความเสี่ยงมะเร็ง ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะไม่รวมอยู่ในแพคเกจ)

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นควรทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น สามารถนำผลตรวจทั้งหมดมาประกอบพิจารณาการส่องกล้องเพิ่มเติมได้เลย หากแพทย์พิจารณาจากผลเดิมได้ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องตรวจรายการอื่นและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนส่องกล้อง

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว แต่เนื่องจากต้องเดินทางไกล และต้องการทราบผลเบื้องต้นจะผ่าตัดได้หรือไม่ และควรทำอย่างไร

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น และต้องการทราบผลการส่องกล้องเบื้องต้น สามารถส่งให้ทางโรงพยาบาลเพื่อประสานพยาบาลและแพทย์ประเมินเบื้องต้นก่อนได้ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดหมายมาพบแพทย์ตามขั้นตอนอีกครั้ง

 

 

 

Q : พบแพทย์แล้วสามารถส่องกล้องได้เลยหรือไม่

 

 

A : ในกรณีฉุกเฉิน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยต้องเข้ารับการส่องกล้อง สามารถส่องกล้องได้เลย ส่วนในกรณีไม่ฉุกเฉินแพทย์จะนัดหมายอีกครั้งโดยไม่เกิน 1 สัปดาห์ (ทั้งนี้อยู่ที่ความสะดวกของผู้ป่วยและคิวแพทย์ผ่าตัดด้วย)

 

 

 

Q : มีประกันชีวิตสามารถใช้ในแพคเกจนี้ได้หรือไม่

 

 

A : หากมีประกันชีวิตและมีการคุ้มครองการส่องกล้องสามารถเข้าผ่าตัดแพคเกจนี้ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบความคุ้มครองเบื้องต้นก่อนเข้ารับบริการ และในวันที่พบแพทย์เพื่อประเมินการส่องกล้องจะมีการเช็กความคุ้มครองอีกครั้ง

 

 

 

Q : สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่

 

 

A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถส่องกล้องได้ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลังจากแพทย์วินิจฉัยจะส่งต่อแพทย์เฉพาะอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการส่องกล้อง

                                 

 

 

Q : หากมีสิทธิประกันสังคมแต่ไม่สะดวกรอจึงประสงค์จะชำระค่ารักษาตามแพคเกจได้หรือไม่

 

 

A : หากผู้ป่วยประสงค์ส่องกล้องโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับบริการได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาอีกครั้ง และผู้ป่วยจะต้องสละสิทธิ์โครงการประกันสังคมและยินยอมการรักษาค่าพยาบาลตามเงื่อนไขของโรงพยาบาลที่กำหนดก่อนเข้ารับการส่องกล้อง

 

 

 

Q : การส่องกล้องมีขั้นตอนอย่างไร

 

 

A : การส่องกล้องกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคป (endoscope) มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ มีเลนส์กล้อง และแสงไฟที่ปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากผ่านทางหลอดอาหารลงไปยังกระเพาะอาหาร ทำให้เห็นความผิดปกติที่เกิดในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 15 นาทีหากเป็นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะใช้กล้องสอดเข้าไปทางรูทวารหนักเพื่อดูความผิดปกติที่เกิดในลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที

 

 

 

Q : ใช้ระยะเวลาในการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เท่าใด

 

 

A : ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

 

 

 

Q : ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นแบบวางยาสลบหรือไม่

 

 

A : แพคเกจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ แพทย์จะใช้วางยานอนหลับให้ผู้ป่วย เพื่อการส่องกล้องที่ง่ายและไม่ให้ผู้ป่วยตื่นกลัว

 

 

 

Q : หากกังวล หรือมีอาการที่สงสัยจะเป็นโรคระบบทางเดินอาหารแล้วอยากส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ แพทย์จะทำการส่องกล้องให้เลยได้หรือไม่

 

 

A : แนะนำผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาการส่องกล้อง เนื่องจากแพทย์จะต้องทำการซักประวัติและอาการ และจะวินิจฉัยการรักษาหรือส่องกล้องต่อไป

 

 

 

Q : ส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เจ็บหรือไม่

 

 

A : การส่องกล้องตรวจผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ เพราะมีการให้ยานอนอหลับ และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงใช้เวลาการตรวจประมาณ 15-30 นาที หากตรวจพบติ่งเนื้อ หรือเนื้องอก แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันที หรือสงสัยว่าอาจมีเนื้อร้ายสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ด้วย

 

 

 

Q : การเตรียมตัวส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้

 

 

A : การเตรียมตัวส่องกล้องกระเพาะอาหารผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ส่วนการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และรับประทานยาระบายก่อนตรวจ

 

 

 

Q : หลังส่องกล้องจะมีอาการอย่างไร

 

 

A : หลังส่องกล้องอาจมีอาการเจ็บบริเวณลำคอ และมีอาการง่วงซึมจากยา แพทย์จะให้นอนพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการ หากไม่มีอาการใด ๆ จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่จะไม่แนะนำให้ขับรถเอง



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

 

ลำไส้อักเสบ ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

 

 

แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้

 

 

โรคโครห์น การอักเสบของระบบทางเดินอาหาร

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากการขับถ่าย