อาการหลงลืมชั่วคราว
การลบไม่ได้ช่วยให้ลืม มาดูอาการ TGA หรือ การหลงลืมชั่วคราว

 

“เป็นแฟนฉันแค่วันเดียวจะได้อะไรขึ้นมา พรุ่งนี้ฉันก็ลืมหมดแล้ว” ไม่ทราบว่ามีใครจำประโยคนี้ได้หรือไม่ เพราะเป็นประโยคที่มาจากหนังเรื่องแฟนเดย์ อาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นในหนังมีชื่อเรียกว่า อาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว หรือ อาการหลงลืมชั่วคราว (Transient Global Amnesia)

 

 

อาการของการหลงลืมชั่วคราว เป็นอย่างไร

 

 

ผู้ป่วยจะยังคงจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตได้ แต่จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิด ณ ขณะนั้นได้ โดยจะสามารถแยกความรุนแรงของอาการสมองเสื่อมได้ 3 ระดับ ดังนี้

 

 

อาการสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย

 

 

ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ มีอาการหลงลืม สมาธิไม่อยู่กับเนื้อกับตัว โดยสิ่งที่ผู้ป่วยจำได้เป็นเพียงเรื่องในอดีตที่ยังคงจำได้ดี เริ่มเกิดความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ช่วยเหลือตนเองได้ และระดับการตัดสินใจยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

 

 

อาการสมองเสื่อมระดับปานกลาง

 

 

ในระดับนี้ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น เกิดความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ การเรียนรู้ หรือการแก้ปัญหา ทั้งที่เคยทำกิจกรรมเหล่านั้นได้มาตลอด และทำได้ดี ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอยู่ในระดับนี้ การให้อยู่ตามลำพังอาจจะอันตราย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด 

 

 

อาการสมองเสื่อมระดับรุนแรง

 

 

ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย สูญเสียความทรงจำอย่างรุนแรง จำบุคคลรอบตัวไม่ได้ หรือแม้กระทั่งตนเอง เกิดความผิดปกติ เช่น เกิดอาการแทรกซ้อน บุคลิกภาพเปลี่ยน เคลื่อนไหวเชื่องช้า ไม่ควรให้อยู่ตามลำพังเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดการหลงลืมชั่วคราว

 

 

  • เกิดจากความเครียดในระดับที่รุนแรง เช่น การทำงานหนัก ความเครียดสะสมในชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

  • เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น การได้รับบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ แต่ไม่ถึงขั้นรุนแรง 

 

 

  • เกิดจากกิจกรรมบางอย่างที่ทำในชีวิตประจำวัน 

 

 

ณ ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการการหลงลืมชั่วคราวได้อย่างแน่ชัด แต่จะพบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติการป่วยเป็นไมเกรน จะมีแนวโน้มที่อาจจะเสี่ยงเผชิญกับอาการนี้สูงกว่าบุคคลทั่วไป

 

 

สัญญาณเตือนของอาการหลงลืมชั่วคราว 

 

 

  • สูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน 

 

 

  • การตัดสินใจเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม

 

 

  • มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดรวบยอด เช่น จากปกติที่เคยคำนวณตัวเลขได้ แต่กลับลืมว่าต้องแก้ปัญหานี้อย่างไร 

 

 

  • ขาดความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตประจำวัน ชอบเก็บตัวมากขึ้น

 

 

  • เกิดปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลอื่น

 

 

อาการหลงลืมชั่วคราว มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร

 

 

 

 

  • การตรวจวินิจฉัยด้วย MRI Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เห็นภาพความเสียหายของสมองได้อย่างละเอียด

 

 

  • การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อฉายภาพภายในสมองในมุมมองต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้สามารถบอกถึงความผิดปกติของโครงสร้างสมองได้

 

 

  • การตรวจเลือด เพราะแพทย์ต้องการแยกโรคและสาเหตุของการทำให้สมองเสื่อม 

 

 

  • การตรวจระบบประสาท เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูว่าสมองทำงานเป็นปกติดีหรือไม่

 

 

 

 

วิธีการรักษาอาการหลงลืมชั่วคราว

 

 

  • ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตนเอง โดยผู้ป่วยต้องแจ้งอาการให้แพทย์ทราบอย่างครบถ้วน เพื่อหาทางแก้ไข 

 

 

  • รักษาที่สาเหตุ อย่างเช่น ปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และการรักษาทางจิตวิทยาจากจิตแพทย์

 

 

  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยหรือปัญหาที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น

 

 

 

 

การป้องกันอาการหลงลืมชั่วคราว

 

 

ณ ขณะนี้ยังไม่มีการป้องกันที่ชัดเจน สิ่งที่พอจะทำได้ คือ ควรลดปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการขึ้น และระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง พยายามจัดการกับความเครียดในแต่ละวัน หรืออาจจะเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการตรวจรักษา 

 

 

อาการหลงลืมชั่วคราว เป็นอาการที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ควรระมัดระวังตนเองเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการนี้ขึ้น ในแต่ละวันควรจัดการกับความเครียดของตนเอง เพราะจะได้ไม่เกิดความเครียดสะสม ท่านใดที่คิดว่าเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับตนเอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษา หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

 

ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

อัลไซเมอร์กับสมอง เส้นขนานที่ไม่มีทางบรรจบกัน

 

5 สาเหตุของคนขี้หลงขี้ลืม