การผ่าตัด ทางเลือกแห่งการรักษานิ่วในถุงน้ำดี
การผ่าตัด กับการรักษานิ่วในถุงน้ำดี (อัปเดตเนื้อหา 2567)

“นิ่วในถุงน้ำดี” เป็นโรคมักจะเกิดจากคอเลสเตอรอลที่หลงเหลือจากการละลายของร่างกายจนตกตะกอนรวมเป็นก้อน หากปล่อยให้มีก้อนสะสมเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ มะเร็งท่อน้ำดี รวมไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้นการรักษานิ่วในถุงน้ำดีที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดนั่นคือ “การผ่าตัด”

 

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีด้วยการผ่าตัดมีอะไรบ้าง

 

การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีมี  2 แบบ ได้แก่

  • ผ่าตัดแบบเปิดแผล เป็นวิธีการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบมาก หรือมีภาวะเป็นหนอง โดยการเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวายาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย การผ่าตัดวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 4 วัน และต้องพักฟื้นหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • ผ่าตัดแบบผ่านกล้อง จะเป็นการผ่าตัดที่เจาะเป็นแผลเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ไม่เกิน 4 จุด เพื่อสอดอุปกรณ์ และกล้องเข้าไป ซึ่งการผ่าตัดวิธีนี้จะให้ผลเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า เพราะแผลจะหายไวกว่า

 

 

ความแตกต่างในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี แบบเปิดแผลกับแบบผ่านกล้อง

 

ผ่าตัดแบบเปิดแผล

  • ปัจจุบันใช้ในกรณีการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมาก หรือแตกทะลุในช่องท้อง
  • พักฟื้นอยู่โรงพยาบาลประมาณ 7-10 วัน
  • พักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 1 เดือน

 

ผ่าตัดแบบผ่านกล้อง

  • เจาะรูเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้อง 4 แห่ง
  • ขนาดของรูประมาณ 0.5 เซนติเมตร 3 ตำแหน่ง  และขนาด 1 เซนติเมตรที่สะดือ 1 ตำแหน่ง
  • อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า
  • พักฟื้นอยู่โรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน
  • พักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์
  • แผลเล็ก ดูแลง่าย และมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า

 

 

เมื่อไหร่ที่ควรเข้ารับการผ่าตัด

 

เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการอักเสบ โดยพิจารณาตามเงื่อนไข ดังนี้

  • มีอาการภายใน 72 ชั่วโมง ผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์ และไม่มีข้อห้าม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้เลย
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง หรือมีโรคประจำตัว แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อน และจะพิจารณาผ่าตัดทีหลัง
  • ผู้ป่วยที่มีอาการมากกว่า 27 ชั่วโมง แพทย์อาจจะให้ยาปฏิชีวนะก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงจะนัดหมายเพื่อผ่าตัดทีหลัง

 

 

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดถุงน้ำดี

 

  • งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีโรคประจำตัว หรือมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำควรนำตัวยามาที่โรงพยาบาลด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าจะต้องงดยานั้นหรือไม่

 

 

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

 

  • ระมัดระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ
  • พยายามหลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะอาจจะทำให้แผลเกิดฉีก หรือปริได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องอืด ย่อยยาก
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมัน และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

 

 

ทานยาสลายนิ่วแทนการผ่าตัดได้หรือไม่

 

แม้ในเบื้องต้น หากพบว่าผู้ป่วยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีในระยะเริ่มแรก และยังไม่มีอาการ แพทย์จะให้ทานยาเพื่อสลายนิ่วได้ แต่เนื่องจากโรคนิ่วที่คนไทยเป็นส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากก้อนคอเลสเตอรอล จึงส่งผลให้การรักษาด้วยการทานยาอาจไม่ได้ผล และการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อหยุดยาอาจจะทำให้เกิดนิ่วซ้ำได้อีกนั่นเอง

 

 

ผ่าตัดถุงน้ำดีที่โรงพยาบาลเพชรเวช

 

โรคนิ่วในถุงน้ำดีหากเกิดอาการจะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก จึงต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลเพชรเวชได้มีบริการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยให้มีความปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

วิดีโอสรุปสาระสำคัญของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

 

 

นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร รักษาอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร?

 

 

ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

 

 

6 วิธี SAY NO นิ่วในถุงน้ำดี