ควันและก๊าซจากการประกอบอาหาร มลพิษที่มาจากความอร่อย
ควันและก๊าซจากการประกอบอาหาร มลพิษที่มาจากความอร่อย

การประกอบอาหารโดยการใช้เตาถ่าน จะต้องจุดไฟกับเชื้อเพลิง เกิดควันและก๊าซต่าง ๆ ที่สูดดมเข้าไปแล้วอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจได้ ไม่ต่างจากการได้รับมลพิษทางอากาศทั้งควันบุหรี่หรือท่อไอเสียจากพาหนะยานยนต์ ซึ่งมักจะเป็นเมนูจากการปิ้ง ย่าง บาร์บีคิว หม้อไฟ เช่น หมูกระทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมพื้นที่ปิดหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก ยิ่งจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะผิดปกติได้

 

 

มลพิษที่ได้จากการประกอบอาหาร

 

เมื่อจุดไฟโดยผ่านถ่านเพื่อรับประทานอาหารต่าง ๆ จะมีควันจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นผู้ที่กำลังบริโภคจะได้รับแก๊ส 2 ชนิด ดังนี้

 

คาร์บอนไดออกไซด์

 

  • เป็นแก๊สที่ไม่มีสี รสชาติ กลิ่น น้ำหนักเยอะกว่าอากาศ

 

  • ซึ่งหากสูดดมเข้าไป ร่างกายจะเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ก๊าซนี้จะไปคั่งในโลหิต กระตุ้นให้เกิดการหายใจถี่ขึ้น

 

  • หากกลายสถานะเป็นผลึกของแข็งที่เรียกกันว่า Dry Ice หรือน้ำแข็งแห้ง มีความเย็นจัด ถ้าไปสัมผัสบริเวณผิวหนังของเราจะเกิดเนื้อตายได้

 

คาร์บอนมอนอกไซด์

 

  • เมื่อแก๊สนี้เข้าสู่ร่างกาย มันจะไปจับกับฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ปล่อยออกซิเจนและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ ระบบในร่างกายจึงทำงานผิดปกติ

 

 

หมูกระทะ

 

 

อาการเมื่อได้รับควันและก๊าซจากการประกอบอาหาร

 

ซึ่งจะเสี่ยงต่อผลกระทบในร่างกาย

 

  • ปวด วิงเวียนศีรษะ

 

  • ตาพร่ามัว 

 

  • หน้ามืด

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • เจ็บหน้าอก

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • อ่อนแรง

 

  • ชักเกร็ง

 

  • หมดสติ

 

  • เสียชีวิต

 

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้

 

 

บาร์บีคิว

 

 

ทำอย่างไรเมื่อได้รับควันและก๊าซจากการประกอบอาหาร

 

  • รีบออกจากสถานที่นั้น ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

 

  • เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อสูดรับอากาศบริสุทธิ์

 

  • หากควันและก๊าซเข้าไปในจมูก ควรล้างด้วยน้ำเกลือ หรือถ้าเข้าไปบริเวณด้านในคอ ให้กลั้วด้วยน้ำสะอาด แล้วบ้วนทิ้ง อย่ากลืนลงไปโดยเด็ดขาด

 

  • เมื่อพบผู้หมดสติและระบบหายใจติดขัด ควรทำการผายปอดและเรียกรถเจ้าหน้าที่เพื่อนำตัวสู่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

 

ย่างเนื้อบนเตาไฟฟ้า

 

 

การป้องกันควันและก๊าซจากการประกอบอาหาร

 

  • เลือกร้านที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับทึบ

 

  • สถานที่รับประทานหรือประกอบอาหารจะต้องมีช่องให้อากาศภายนอกเข้ามา หรือเครื่องระบายอากาศ

 

  • เปลี่ยนจากเตาถ่านมาเป็นเตาไฟฟ้าหรือก๊าซหุงต้มไร้ควันแทน

 

  • ผู้ที่ปรุงอาหารอยู่หน้าเตาทำเมนูปิ้งย่าง ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้า เชฟ ควรสวมหน้าหน้ากากอนามัย ขณะกำลังทำ

 

 

บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาให้ผู้ที่ชื่นชอบเมนูปิ้งย่างจากเตาถ่าน เลิกพฤติกรรมการบริโภค เพียงแต่ควรเลือกสถานที่และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลดความเสี่ยงผลกระทบที่จะได้รับ รวมทั้งการควรตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อีกอย่างที่ต้องระวังอย่างยิ่งจากการประกอบอาหารประเภทนี้คือ อุบัติเหตุที่คาดคิดอย่างอัคคีภัย เนื่องจากต้องใช้ไฟ ซึ่งหากปล่อยปละละเลย อาจจะไม่ใช่เราเพียงผู้เดียวที่เดือดร้อน

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

ฟอร์มาลีน สารพิษร้ายภายใต้ความอร่อยจากเนื้อสัตว์