PM 2.5 และโรคภูมิแพ้
PM 2.5 ฝุ่นที่กระตุ้นให้โรคภูมิแพ้กำเริบ

 

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ จะมีข่าวฝุ่น PM 2.5 ให้เห็นตลอด ถ้าให้เปรียบเทียบเหตุการณ์ เหมือนจะกลายเป็นลูปประจำปีที่เราคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ณ ขณะนี้ PM 2.5 ได้กลับมาแล้ว ส่วนค่าฝุ่นก็สูงมากขึ้นเช่นกัน และยังเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบ

 

 

ทำไม PM 2.5 ถึงกระตุ้นให้ภูมิแพ้กำเริบ 

 

 

PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เพราะด้วยอนุภาคขนาดเล็ก จึงส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ผิวหนัง โดยจะสามารถเข้าผ่านทางจมูกไปยังหลอดลมใหญ่ สู่หลอดลมเล็กในปอด ถ้าเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง จะเกิดผดผื่นขึ้นตามร่างกาย

 

 

 

 

อาการของภูมิแพ้ที่เกิดจาก PM 2.5

 

 

ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน

 

 

  • มีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และไอเรื้อรัง

 

 

  • มีอาการหงุดหงิดง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะและหูอื้อร่วมด้วย 

 

 

ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง

 

 

  • มีเสียงลมขณะหายใจ 

 

 

 

 

ผลกระทบจากการเกิดภูมิแพ้ทางผิวหนัง

 

 

  • มีอาการผด หรือผื่นขึ้นตามร่างกาย

 

 

  • รู้สึกคัน และอาจมีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง

 

 

  • ถ้าเกิดกับเด็กเล็ก ผื่นจะขึ้นที่บริเวณแก้ม ข้อเข่า ข้อศอก ก้น 

 

 

  • เด็กโต ผื่นมักจะขึ้นตามข้อพับ

 

 

ภูมิแพ้ที่เกิดจาก PM 2.5 มีวิธีตรวจวินิจฉัยอย่างไร

 

 

การตรวจเลือด

 

 

เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิด IgE ที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้ในแต่ละชนิด

 

 

การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

เป็นการนำสารสกัดที่มีภูมิแพ้หลายชนิดมาทดสอบบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย แพทย์จะทำการหยดน้ำยาลงบนผิวหนัง โดยจะใช้เข็มสะกิดหรือฉีด เพื่อให้น้ำยาซึมเข้าผิวหนัง ถ้าผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ ผิวหนังจะเกิดตุ่มนูนแดงขึ้น


 

การตรวจหาค่าอักเสบในปอดโดยการสังเกตลมหายใจ

 

 

แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าหลอดลมมีการอักเสบมากน้อยขนาดไหน สามารถวินิจฉัยไปสู่โรคหอบหืดได้ 


 

การตรวจสมรรถภาพปอด

 

 

การตรวจปอดจะช่วยวินิจฉัยว่าถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดลมหรือหอบหืด สามารถดูว่าผู้ป่วยมีอาการหลอดลมตีบรุนแรงขนาดไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจหาโรคแทรกซ้อนนอกจากภูมิแพ้

 

 

 

 

วิธีการรักษาเมื่อเกิดภูมิแพ้จาก PM 2.5

 

 

  • ล้างจมูก เพื่อชำระล้างฝุ่นที่เกาะบนผนังจมูกออก

 

 

  • ควรใช้ยาพ่นจมูก เพื่อควบคุมอาการภูมิแพ้เดิม 

 

 

  • ทานยารักษาภูมิแพ้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เสมอ 

 

 

  • ถ้าอาการรุนแรงมาก ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

 

 

 

 

การป้องกันภูมิแพ้จาก PM 2.5

 

 

  • สวมหน้ากากอนามัยที่แพทย์แนะนำ หรือ N95 เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 

 

 

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคาร โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ เป็นต้น

 

 

  • สามารถใช้ที่ฟอกอากาศกรองฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านได้

 

 

  • ในกรณีที่หลีกเลี่ยงมลพิษไม่ได้ ควรทานยาเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาอาการภูมิแพ้

 

 

  • ตรวจเช็คค่า AQI สม่ำเสมอ เพื่อจะได้วางแผน ถ้าต้องออกไปใช้ชีวิตภายนอกบ้าน


 

ฝุ่น PM 2.5 ณ ขณะนี้ เหมือนจะอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน และไม่มีทีท่าว่าจะหายไป แต่ยังโชคดีที่ค่า AQI ของฝุ่นยังพอมีลดลงให้เราได้อุ่นใจ ในกรณีผู้ที่ต้องใช้ชีวิตข้างนอกบ้านทุกวัน ตอนนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นมาก ควรป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยเสมอ และพยายามหลีกเลี่ยงมลพิษประจำวันให้ได้มากที่สุด จะได้ไม่เกิดโรคร้ายอย่างเช่น ภูมิแพ้ ตามมาทีหลัง ถ้าท่านจำเป็นต้องออกไปใช้ชีวิตประจำวันภายนอกบ้าน และมีโรคประจำตัวอยู่ แล้วเกิดอาการกำเริบหนักขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 



 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

ศูนย์เอกซเรย์

 

PM2.5 และ โควิด-19 ความแตกต่างที่สัมพันธ์กัน