มะเร็งองคชาต ลดความเสี่ยงด้วยการขลิบ
มะเร็งองคชาต ลดความเสี่ยงด้วยการขลิบ

มะเร็งองคชาต (Penile cancer)  คือ เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศชายทั้งบริเวณเยื่อเมือกส่วนปลายและผิวหนังที่ห่อหุ้มไว้อยู่ โดยเฉพาะผู้ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด แล้วยังไม่ได้ทำการขลิบ จะมีคราบขาวหมักหมม ไม่ทำความสะอาดให้ถูกสุขอนามัย ซึ่งมี 4 ชนิด ได้แก่ Squamous Cell เซลล์ที่มีความผิดปกติมักพบได้มากสุด Situ ยังไม่แพร่กระจายลงไปในส่วนที่ลึก Adenocarcinoma เกิดที่ Glandular Cells ใช้ผลิตเหงื่อ และ Melanoma เป็นตัวกำหนดสีของผิว

 

 

สาเหตุมะเร็งองคชาต

 

  • ปัญหาหนังหุ้มปลายตีบ แตก มีแผลแล้วอักเสบ

 

  • ไม่รักษาสุขอนามัยปล่อยให้เกิดการสะสมแบคทีเรีย คราบขาว

 

  • ติดเชื้อไวรัส HPV และโรคอื่นจากการมีเพศสัมพันธ์

 

  • ฉีดสารแปลกปลอมเพื่อเพิ่มขนาด

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

 

 

ผู้ชายติดเชื้อไวรัส HPV

 

 

อาการมะเร็งองคชาต

 

เกิดความผิดปกติที่อวัยวะเพศชาย ได้แก่

 

  • เป็นแผลเรื้อรัง

 

  • มีก้อนเนื้อ

 

  • รู้สึกเจ็บ ปวด

 

  • โลหิต หนอง หรือสารคัดหลั่งที่มีกลิ่นเหม็นไหลออกมา

 

  • ตอนที่ยังไม่แข็งตัวจะบวมขึ้น

 

เมื่อมีการลุกลาม

 

  • ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโต อาจมีก้อนเดียวหรือคลำพบหลายอัน ทั้งด้านซ้าย ขวา กลายเป็นแผลเน่าเปื่อย อาจส่งผลให้ถุงอัณฑะ ต้นขามีขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

เลือดไหลติดกางเกงใน

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งองคชาต

 

แพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการความผิดปกติ  ระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นจะตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ตรวจดูอวัยวะเพศชายจากการมองเห็นภายนอก คลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบของผู้ป่วย เป็นต้น  ต่อมาจะทำการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นวิธีวินิจฉัยผลได้อย่างแน่นอน เมื่อผลออกมาว่าเป็นมะเร็งแล้ว จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสุขภาพและระยะของโรค ได้แก่

 

การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan ดูสภาพช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน

 

  • อัลตราซาวด์เพื่อดูการลุกลามของต่อมน้ำเหลือง

 

ตรวจโลหิต CBC

 

  • ดูค่าน้ำตาลและการทำงานของอวัยวะภายใน อย่างตับ ไต

 

ตรวจปัสสาวะ

 

  • ดูประสิทธิภาพของอวัยวะที่มีหน้าที่ในการขับของเหลวออกจากร่างกาย

 

เอกซเรย์ปอด

 

  • หากการแพร่กระจายของเชื้อโรคว่าเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจหรือไม่

 

 

หาหมอ

 

 

ระยะของโรคมะเร็งองคชาต

 

ระยะที่ 1

 

  • เซลล์มะเร็งชนิดแบ่งตัวต่ำ อยู่ในชั้นเนื้อเยื่ออวัยวะเพศ

 

ระยะที่ 2

 

  • ลุกลามเข้าไปยังท่อปัสสาวะหรืออวัยวะอื่น ๆ

 

ระยะที่ 3

 

  • ลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ

 

ระยะที่ 4

 

  • มะเร็งได้ยึดติดกับเนื้อเยื่อใต้ต่อมน้ำเหลือง แพร่เข้าสู่ช่องท้องน้อย กระแสโลหิต ไปยังปอดในที่สุด

 

 

ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโต

 

 

การรักษามะเร็งองคชาต

 

ใช้เลเซอร์

 

  • โดยแพทย์จะใช้เทคโนโลยีนี้ตัดผิวหนังที่เป็นเนื้อร้ายออก และปลูกถ่ายใหม่ภายหลัง

 

ฉายรังสี

 

  • ใช้ในการควบคุมโรค

 

เคมีบำบัด

 

  • สามารถบรรเทาอาการ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษา 2 รูปแบบ ที่กล่าวมา

 

การผ่าตัด

 

  • เป็นการทำลายและป้องกันการลุกลามเซลล์มะเร็ง

 

 

ผู้ป่วยมะเร็งองคชาตรับคีโม

 

 

ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งองคชาต

 

  • ไม่ใช้ยานอกเหนือคำแนะนำของแพทย์

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน  และสูบบุหรี่

 

  • รับประทานอาหารย่อยง่าย ให้ครบ 5 หมู่ แบ่งเป็นหลายมื้อ ในปริมาณที่น้อย ๆ

 

  • อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ

 

  • ไม่หักโหมการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางเพศ

 

  • ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด พูดคุยกับบุคคลใกล้ตัว

 

  • มาโรงพยาบาลตามนัดเสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน บริโภคอาหารได้น้อย ควรแจ้งแพทย์ได้ทันที

 

 

ไม่ดื่มสุรา

 

 

เก็บรัดอวัยวะเพศ ทำให้เป็นมะเร็งองคชาตหรือไม่

 

ผู้ที่ต้องการปกปิดการแข็งตัวขององคชาต โดยการนำเทปกาวหรือวัสดุอื่นมารัดอวัยวะเพศให้เรียบเนียน หรือที่เคยได้ยินว่า การแต๊บ ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งองคชาตโดยตรง แต่จะส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตที่บริเวณลูกอัณฑะไม่สะดวก การผลิตอสุจิลดลง เพิ่มความอับชื้น หากแต๊บแล้วมีบาดแผลที่หนังหุ้มปลาย ไม่ทำความสะอาดล้างคราบขาวหรือเข้ารับการขลิบ อาจส่งผลให้เชื้อเข้าสู่ผิวหนังกลายเป็นมะเร็งได้

 

 

ถุงยางอนามัย

 

 

การป้องกันมะเร็งองคชาต

 

  • เลิกพฤติกรรมสูบบุหรี่

 

  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศให้ถูกสุขลักษณะ

 

  • หากมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่ใช่คู่ครองของตนเอง ควรสวมถุงยางอนามัย

 

  • ผู้ที่มีหนังหุ้มปลายตีบ อักเสบ ควรปรึกษาแพทย์เข้ารับการขลิบ

 

 

สำหรับท่านชายที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด ตีบ แตก ตัน มีปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการขลิบหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ ลดการเสียเลือด เจ็บน้อย พักฟื้นเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งยังมีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์หัตถการนี้สูง ที่คอยดูแลให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งและโรคอื่นตามมาได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะ Staple Circumcision

 

 

คราบขาวที่อวัยวะเพศชาย

 

 

ปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการขลิบ

 

 

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเด็กชาย ลดการติดเชื้อก่อนเป็นหนุ่ม

 

 

ขลิบหนังหุ้มปลาย ด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (Staple Circumcision)

 

 

ขลิบไร้เลือดกับโรงพยาบาลเพชรเวชดีอย่างไร

 

 

ขลิบปลาย สามารถทำได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก