โรคลายม์
โรคลายม์ เชื้อร้ายจากเห็บสู่คน

 

โรคลายม์ หรือ lyme disease เป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Borrelia Burgdorferi เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์สู่คน พบการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีภูมิศาสตร์เย็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป แคนาดา และเอเชียตอนเหนือ ซึ่งกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคลายม์ เช่น การทำสวน เดินป่า ตั้งแคมป์ การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

 

 

โรคลายม์ เกิดจากสาเหตุใด

 

 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Borrelia จากเห็บชนิด Deer Tick หรือ Blacklegged เพราะผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตว่าโดนเห็บกัดและดูดเลือดเป็นระยะเวลา 24-48 ชั่วโมงแล้ว ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางผิวหนัง การแสดงอาการของโรคลายม์ จะรุนแรงขึ้นในช่วงระยะเวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากถูกเห็บกัด

 

 

 

 

โรคลายม์ มีอาการอย่างไร 

 

 

  • มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ 

 

 

  • เกิดผื่นที่มีลักษณะเป็นวงกลมสีแดงบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งจะเป็นลักษณะพิเศษของโรคนี้

 

 

 

 

  • รู้สึกล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 

 

 

  • อาการที่เกี่ยวกับทางระบบประสาท เช่น อาการชาตามร่างกาย หรือปากเบี้ยว

 

 

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคลายม์

 

 

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีไข้ 

 

 

 

 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

 

 

 

 

  • ปัญหาเกี่ยวกับสมอง เช่น ส่วนของความจำ และการควบคุมอารมณ์การวินิจฉัยโรคลายม์

 

 

การวินิจฉัยโรคลายม์

 

 

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและเช็คประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการตรวจเลือดเพื่อหาค่าแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อแบคทีเรีย โดยการใช้วิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (Elisa) หลังจากนั้นแพทย์อาจจะใช้วิธี Western Blot Test เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง โดยผลเลือดที่น่าเชื่อถือมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์หลังจากโดนเห็บกัด


 

โรคลายม์และวิธีการรักษา 

 

 

รักษาโดยการฉีดยา

 

 

แพทย์อาจจะใช้วิธีการฉีดยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14-28 วัน

 

 

 

 

รักษาโดยให้ยาชนิดรับประทาน

 

 

  • แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อ และรักษาอาการตามที่แสดงออกมาขึ้นอยู่กับระยะของโรค

 

 

  • อาจจะใช้ยาเซฟูรอกซิม และอะม็อกซีซิลลินสำหรับเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 14-21 วัน 

 

 

  • ยาด็อกซีไซคลินสำหรับเด็กที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่สามารถทานได้

 

 

 

 

การป้องกันตนเองจากโรคลายม์

 

 

  • สวมเสื้อผ้าที่มีแขนและขายาว โดยต้องคลุมผิวหนัง เพื่อป้องกันเห็บเกาะบริเวณผิวหนังโดยตรง

 

 

  • สายตั้งแคมป์ หรือเดินป่า ถ้ากลับมาถึงที่พัก ควรสำรวจเสื้อผ้าและร่างกายของตนเอง ว่ามีเห็บหรือสิ่งแปลกปลอมเกาะมาหรือเปล่า ถ้ามีควรใช้แหนบดึงออก โดยจับที่บริเวณหัวหรือปากของเห็บ แล้วดึงขึ้นในแนวตรง

 

 

  • ใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ Deet (N,N-Diethyl-m-toluamide DEET) ซึ่งสามารถช่วยป้องกันเห็บได้

 

 

  • หมั่นสังเกต และดูแลความสะอาดสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันเห็บที่เกาะอยู่บนตัวร่วงหล่นลงมา แล้วแพร่เชื้อสู่คน

 

 

  • กำจัดเศษซากใบไม้แห้ง สนามหญ้า ที่อาจจะเป็นแหล่งชุกชุมของเห็บและแมลงชนิดอื่น ๆ 

 

 

ท่านใดที่เป็นสายเดินป่า ตั้งแคมป์ หรือรักในการผจญภัย และสัตว์เลี้ยง ควรระมัดระวังและป้องกันตนเอง สวมเสื้อผ้าที่สามารถป้องกันได้ทุกส่วนของร่างกาย ถ้ากลับมาถึงบ้าน เช็ครอบ ๆ ร่างกายให้ดี ถ้าผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรสังเกตพฤติกรรม และเช็คร่างกายของสัตว์เลี้ยง ว่ามีเห็บหรือหมัดเกาะอยู่หรือเปล่า ถ้ามีควรหาวิธีการกำจัดออกจากสัตว์เลี้ยงโดยด่วน ท่านใดที่ประสบพบเจอกับบาดแผลที่คล้ายคลึง ขึ้นอยู่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตนเอง แล้วไม่มั่นใจว่าใช่โรคลายม์หรือไม่ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คทันที



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เรื่องใกล้ตัวของผู้รักสัตว์