คันคอ
คันคอ อย่ารอให้หาย ก่อนจะสายและกลายเป็นโรคอื่น

 

คันคอ หรือ Itchy throat เป็นอาการระคายเคืองภายในลำคอ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง และกระแอมตลอดเวลา เพื่อให้หายระคายเคืองคอ โดยอาการคันคอ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของความเจ็บป่วยที่กำลังจะพัดผ่านเข้ามาภายในร่างกาย

 

 

 

 

คันคอเกิดจากสาเหตุใด

 

 

  • โรคภูมิแพ้ เพราะปฏิกิริยาของร่างกายมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ 

 

 

  • ไซนัสอักเสบ เกิดจากเสมหะไหลลงมาที่บริเวณคอ ณ ขณะที่นอนหลับ ทำให้เกิดอาการคันคอ

 

 

  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น ละอองเกสร

 

 

  • การสูดดมมลพิษในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองคอได้ เช่น ฝุ่น PM 2.5 บุหรี่ สารเคมี

 

 

  • กรดไหลย้อน เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารเกิดหย่อนผิดปกติ ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปบริเวณหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองคอ 


 

คันคอมีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร

 

 

  • ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา อาจพ่วงมาด้วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อรา

 

 

  • โรคหืด เกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลต่อการหายใจและทางเดินหายใจ 

 

 

  • โพรงจมูกอักเสบ เกิดจากผู้ป่วยที่มีประวัติการเป็นโรคจมูกอักเสบจากหอบหืด หรือภูมิแพ้

 

 

  • ภูมิแพ้ขั้นรุนแรง อาจจะก่อให้เกิดอาการ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือลมพิษ มักจะพบในผู้ป่วยที่เกิดจากการแพ้ยา อาหาร และแมลง


 

การวินิจฉัยอาการคันคอ

 

 

  • การตรวจเลือดและป้ายลำคอเพื่อเพาะเชื้อ สำหรับกรณีที่แพทย์ต้องการหาว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะใช้วิธีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

 

 

  • การทดสอบภูมิแพ้ ในกรณีที่แพทย์ต้องการทดสอบ โดยการให้ผิวหนังสัมผัสกับสารที่คาดว่าจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือแพทย์อาจจะพิจารณาใช้วิธีการตรวจเลือดแทน

 

 

 

 

คันคอมีวิธีการรักษาอย่างไร 

 

 

  • ให้ยาลดน้ำมูก และล้างจมูก เพื่อลดการเกิดเสมหะไหลลงไปที่บริเวณคอ

 

 

  • ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดการคัดจมูก ยาแก้ไอชนิดละลายเสมหะ หรืออาจจะมีการล้างจมูก เพื่อช่วยให้ระบายเสมหะ และลดภาวะเสมหะไหลลงบริเวณคอ

 

 

  • ถ้าเกิดจากการแพ้ยา หลังจากใช้ยาชนิดใด ๆ 1 ชั่วโมง แล้วเกิดอาการกำเริบรุนแรง เช่น ลมพิษ หายใจมีเสียง หายใจตื้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรืออาจจะฉีดยาอิพิเนฟริน เพื่อรักษาและลดอาการแพ้รุนแรง

 

 

  • ถ้าเกิดจากการแพ้อาหาร แพทย์จะวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยแพ้อาหารชนิดใด และให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้น หรืออาจจะให้ตรวจสอบส่วนผสมก่อนรับประทาน

 

 

  • ภูมิแพ้ หมออาจจะพิจารณาให้ยาไดเฟนไฮดรามีน บิลาสทีน เฟกโซเฟนาดีน หรือลอราทาดีน โดยแพทย์อาจจะแนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนกิจวัตรในชีวิตประจำวันควบคู่ด้วย

 

 

 

 

คันคอมีวิธีป้องกันอย่างไร 

 

 

  • ล้างจมูก เพื่อลดอาการเสมหะไหลลงบริเวณคอ และอาจจะช่วยล้างสารก่อภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจ 

 

 

  • ควรระวังและหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ทุกชนิด หรือสถานที่ที่มีมลพิษ

 

 

  • ในแต่ละวันควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ

 

 

  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ สามารถช่วยลดอาการอักเสบที่คอได้

 

 

  • ฉีดสเปรย์บรรเทาอาการเจ็บคอ และระคายคอ 

 

 

คันคอเป็นอาการที่สร้างความงุ่นง่านใจไม่น้อย จากการที่ต้องกระแอมเพื่อให้หายระคายเคืองคอตลอด ท่านควรรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองเสมอ เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และมลพิษที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการคันคอขึ้นได้เช่นกัน ถ้าผู้ป่วยท่านใดเกิดอาการคันคอ แล้วมีโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรงขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิกหูคอจมูก

 

คออักเสบจากไวรัสและแบคทีเรีย