เชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่เล็บ โรคที่หลายคนไม่ค่อยสังเกต

 

เชื้อราที่เล็บ, เล็บเป็นเชื้อรา (onychomycosis) คือ การติดเชื้อในกลุ่มรา เชื้อกลากแท้ เชื้อกลากเทียม หรือยีสต์ ที่บริเวณเล็บ สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้

 

 

สาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บ 

 

 

  • สวมใส่รองเท้าที่คับ แน่น หรืออับชื้นเป็นเวลานาน 

 

 

  • เกิดแผลที่บริเวณนิ้วมือ และนิ้วเท้า

 

 

  • อาจจะติดเชื้อราจากบริเวณผิวหนัง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้เชื้อลามมายังเล็บได้ 

 

 

 

 

  • ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ

 

 

เชื้อราที่เล็บ อาการเป็นอย่างไร

 

 

  • เล็บที่เป็นเชื้อรา จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา

 

 

 

 

  • เล็บหนาขึ้น ผิดรูปทรง

 

 

  • เล็บจะเกิดการเปลี่ยนสี เช่น เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขาว ดำ และสีซีดจาง

 

 

  • มีรอยร้าว เปราะ แตกหักง่าย และมีขุยใต้เล็บ

 

 

  • รู้สึกเจ็บบริเวณเล็บที่ติดเชื้อขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 

 

 

เชื้อราที่เล็บ สามารถติดต่อได้ไหม 

 

 

สามารถติดต่อกันได้ ผ่านการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อปะปนอยู่ เชื้อราจะอยู่ในที่ชื้น อุ่น และมืด ถ้าผู้ป่วยเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้เชื้อรายังสามารถแพร่ไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ได้ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โรคกลาก

 

 

การวินิจฉัยเชื้อราที่เล็บ

 

 

แพทย์จะนำตัวอย่างของเล็บ ส่งไปเพาะเชื้อ และตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนั้นแพทย์อาจจะขูดเศษเนื้อเยื่อใต้เล็บ เพื่อนำไปตรวจสอบหาชนิดของเชื้อรา และหาวิธีรักษาต่อไป 

 

 

การรักษาเชื้อราที่เล็บ

 

 

 

 

  • ใช้กรรไกรตัดเล็บที่ติดเชื้อรา 

 

 

  • รักษาโดยการใช้ยาเม็ดป้องกันเชื้อรา น้ำยาเคลือบเล็บชนิดป้องกันเชื้อรา ขี้ผึ้ง ครีม 

 

 

  • การรักษาด้วยเลเซอร์ ร่วมกับการใช้ยา

 

 

  • การถอดเล็บ โดยจะรักษาควบคู่กับการให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านเชื้อรา 

 

 

  • การผ่าตัด สำหรับกรณีที่รุนแรงมาก โดยแพทย์จะผ่าตัด เพื่อนำเล็บออก 

 

 

การป้องกันเชื้อราที่เล็บ

 

 

  • รักษาความสะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้งหลังล้างมือ และเท้า

 

 

  • ตัดเล็บให้สั้นเป็นแนวตรง ไม่ควรตัดบริเวณรอบเล็บ

 

 

  • หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า ในบริเวณพื้นที่สาธารณะ

 

 

 

 

  • ไม่ควรสวมใส่รองเท้าที่คับ หรือแน่นเกินไป ให้เลือกขนาดที่พอดีกับเท้า

 

 

  • ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บทุกครั้งก่อนใช้งาน 

 

 

เชื่อว่าหลายท่านที่ได้อ่านบทความนี้ น่าจะเริ่มสังเกตเล็บของตนเองกันแล้ว อยากให้ทุกท่านระมัดระวัง และหมั่นดูแลความสะอาดเล็บสม่ำเสมอ หากท่านใดที่เล็บเป็นเชื้อรา ให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อจะได้รักษา และรับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลเล็บจากแพทย์



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่มาพร้อมกับน้ำท่วม