อาหารและภาวะไขมันพอกตับ
อาหารและภาวะไขมันพอกตับ

อย่างที่ทราบกันดีว่าไขมันพอกตับเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดสุขลักษณะและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินไว้ที่บริเวณตับ นำมาสู่การอักเสบของอวัยวะภายในนั้นแบบเรื้อรัง รวมทั้งพังผืด ตับแข็ง จนถึงขั้นมะเร็งได้ ดังนั้นผู้ที่ป่วยภาวะนี้และผู้ที่ต้องการป้องกันไขมันพอกตับ ควรเลือกรับประทานอาหารตามคำแนะนำของบทความนี้ได้

 

 

เมนูลดไขมันพอกตับ

 

ประกอบไปด้วยสารอาหารเหล่านี้

 

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

 

  • ข้าวกล้อง

 

  • ขนมปังโฮลวีท

 

  • อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายทั้งไฟเบอร์ ฟอสฟอรัส วิตามินบี

 

ผัก ผลไม้ ที่มีกากใยสูง รสชาติหวานน้อย

 

  • บรอกโคลี่

 

  • คะน้า

 

  • ผักกาด

 

  • ตำลึง

 

  • หัวไชเท้า

 

  • แครอท

 

  • กะหล่ำปลี

 

  • มะเขือเทศ

 

  • แตงกวา

 

  • ผักบุ้ง

 

  • อะโวคาโด

 

  • แอปเปิล

 

  • ฝรั่ง

 

  • แตงโม

 

  • ส้ม

 

เนื้อสัตว์

 

  • แซลมอนหรือปลาน้ำลึกอื่น ปลาทู สวาย ซาบะ

 

  • อกไก่

 

  • ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ

 

  • อัลมอนด์

 

  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์

 

  • แมคคาเดเมีย

 

นม

 

  • ทำมาจากถั่วเหลือง พร่องมันเนย น้ำเต้าหู้

 

ไขมันชนิดดี

 

  • สกัดจากมะกอก

 

  • เมล็ดทานตะวัน

 

  • คาโนลา

 

  • รำข้าว

 

 

ผลไม้

 

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

มักจะมีไขมันสูง รสหวานจัด ได้แก่

 

  • นมสด

 

  • เนย

 

  • กะทิ

 

  • เครื่องในและหนังสัตว์

 

  • ของทอดทุกชนิด

 

  • พริกแห้ง ถั่วป่นที่ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน

 

  • ไข่แดง

 

  • ชีส

 

  • กุ้ง

 

  • ข้าวเหนียว

 

  • ข้าวที่ผ่านการขัดสี

 

  • เบเกอรี่

 

  • ผลไม้ที่ผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็น ดอง แช่อิ่ม เชื่อม หรือตากแห้ง

 

  • ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ ปาล์ม มะพร้าว เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสูง

 

  • น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเยอะ รวมทั้งแอลกอฮอล์ทุกชนิด

 

 

อาหารไขมันสูง

 

 

อาหารเสริมสำหรับไขมันพอกตับ

 

ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคใด ๆ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทุกชนิด ก่อนจะใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะสารบางอย่างในนั้นอาจส่งผลข้างเคียงกระทบไปยังตับได้  ทั้งนี้หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีไขมันในตับสูงกว่าระดับปกติ ควรเลือกรับประทานอาหารในหัวข้อข้างต้นที่กล่าวมา งดการสังสรรค์โดยมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้ค่า BMI ไม่เกิน 25 หรือหากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไต ควรใช้ยาและมาพบตามนัดหมายจากคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

 

ออกกำลังกาย

 

 

อาการความผิดปกติของตับที่ควรมาพบแพทย์

 

  • ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารแล้ว แต่น้ำหนักรวมทั้งรูปร่างไม่ลดลง

 

  • คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดอยู่ในระดับค่าที่สูง

 

  • เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาแบบตึง ๆ

 

  • เหนื่อยง่าย

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • คลื่นไส้

 

 

ทั้งนี้ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชมีการตรวจการทำงานของตับ ในงโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งนี้ยังมีแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตรวจคัดกรองโรคตับและวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ สำหรับท่านที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน บริโภคเรื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือรับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ สามารถเลือกรับบริการได้ ก่อนที่โรคร้ายจะคุกคามก่อให้เกิดอาการรุนแรงตามมา

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ

 

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

 

 

ไขมันพอกตับภัยเงียบที่สายดื่มต้องระวัง