อุบัติเหตุจากการทำงาน แนวทางการรับมือตามหลักชีวอนามัย
อุบัติเหตุจากการทำงาน แนวทางการรับมือตามหลักชีวอนามัย

อุบัติเหตุจากการทำงาน (Work Accident) คือ เหตุร้ายที่ไม่คาดคิด เกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ไร้มาตรการ แบบแผนในการควบคุมบริเวณสถานที่ทำงาน ทำให้บุคลากรได้รับผลกระทบทั้งทรัพย์สินและสุขภาพ โดยเฉพาะการบาดเจ็บ ป่วยเป็นโรค ทุพพลภาพ จนถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อบุคคลแวดล้อมทั้งครอบครัว ญาติ ผู้ร่วมงาน กลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ต้องใช้หลักชีวอนามัยมารับมือ

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

  • การปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย

 

  • ใช้อุปกรณ์เครื่องมือโดยไม่ศึกษา

 

  • ทำงานไม่ประเมินกำลังของตนเอง

 

  • ขาดการซ่อมบำรุง

 

  • ไม่ใช้วัสดุที่สร้างความปลอดภัย

 

  • ไม่มีป้ายสัญญาณเตือน

 

  • สถานที่ทำงานสกปรก ระบายอากาศแย่ แสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่ถูกสุขลักษณะ ไร้ระบบเตือนภัยต่าง ๆ

 

  • การบริหารความเสี่ยง

 

  • ไม่มีการอบรมก่อนเข้าทำงาน

 

  • ออกกฎข้อระเบียบการที่หย่อนยานเกินไป

 

  • ไม่เตรียมการซักซ้อมรับมืออุบัติเหตุ

 

  • ละเลยการแก้ไขจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

 

  • ให้ความสำคัญกับเครื่องมือนิรภัยน้อย เนื่องจากต้องการประหยัดต้นทุน

 

 

รถทับขา

 

 

ประเภทของอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

กระแทก

 

  • วัสดุที่กองไว้ไม่มีระเบียบหล่นใส่ หรือการอยู่ในที่ขณะเครื่องจักรกลกำลังทำงานจนเกิดการชนกันเข้า

 

หนีบดึง

 

  • การสัมผัสอุปกรณ์เครื่องมือที่มีคุณสมบัติในการหมุน ทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเข้าไปติด

 

ตกจากที่สูง

 

  • โดยเฉพาะงานอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ภายนอกตัวอาคารสูงกว่าระดับพื้น

 

ลื่นล้ม

 

  • เป็นอุบัติเหตุที่ดูเหมือนไม่รุนแรง แต่ทางตรงกันข้ามหากเกิดกับผู้ที่กระดูกไม่แข็งแรงหรืออยู่ในวัยกลางคนขึ้นไป

 

การปฏิบัติงานซ้ำซาก

 

  • ทำให้อวัยวะบางแห่งใช้กล้ามเนื้อหนักในระยะเวลานานเกินไปจนฉีกขาดขึ้น

 

ยานพาหนะ

 

  • ความไม่พร้อมของตัวเครื่องยนต์และผู้ขับขี่

 

กระแสไฟฟ้าดูด

 

  • จากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

สัมผัสความร้อน

 

  • ต้นเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลาย จาก แก๊ส ของเหลวหรือแข็ง

 

 

ล้มในที่ทำงาน

 

 

อันตรายของอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

อาชีพที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรกล เช่น ร้านขายเนื้อ ช่างซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมหรือโรงงานไม้ หากไม่ระมัดระวัง จะส่งผลกระทบ ได้แก่

 

  • กล้ามเนื้อฉีกขาด

 

  • กระดูกแตก

 

  • สมองกระทบกระเทือน

 

  • บาดเจ็บบริเวณดวงตา

 

ผู้ที่ทำงานใกล้กับรังสี ความร้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คนงานซักรีด แม่ครัว พนักงานดับเพลิง นักรังสีเทคนิค ถ้ามีความผิดพลาด อาจเกิดอันตราย ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ผิวลอก

 

  • เกิดรอยแผลเป็น

 

  • แสบร้อน

 

  • เจ็บปวดจากการถูกทำลายของปลายประสาท

 

  • ผิวหนังไหม้

 

พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้กระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะช่าง เมื่อประมาทโดนไฟดูด จะทำให้มีอาการดังนี้

 

  • เหน็บชา

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • กล้ามเนื้อกระตุก หดเกร็งอย่างรุนแรง

 

  • แผลไหม้

 

  • หมดสติ

 

 

หมดสติขณะทำงาน

 

 

การป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

  • แต่งกายให้เป็นระเบียบ สวมอุปกรณ์นิรภัยต่าง ๆ

 

  • ตรวจเช็กเครื่องมือก่อนใช้งาน และจัดเก็บแยกเป็นหมวดหมู่

 

  • สังเกตสภาพแวดล้อม แสงไฟ ระบายอากาศ ตัวอาคาร ในสถานที่ทำงานว่าจุดใดอาจก่อให้เกิดอันตราย แล้วทำการแก้ไข

 

  • เตรียมยานพาหนะให้ดี รวมทั้งผู้ขับขี่ต้องมีความพร้อม ไม่เป็นโรคหรือดื่มแอลกอฮอล์มา

 

  • ส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยในที่ทำงานแก่บุคลากรทุกฝ่าย

 

  • ฝึกซ้อมการรับมือเหตุฉุกเฉิน

 

  • ติดตั้งระบบเตือนภัย

 

 

เรามักจะได้รับข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ในการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน โดยเฉพาะการก่อสร้างตามท้องถนน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นแล้ว จะทำให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานได้รับผลกระทบร้ายแรงถึงชีวิตไปด้วย อีกทั้งยังสร้างความไม่มั่นใจแก่ผู้เดินทางประจำในเส้นทางนั้น ส่งผลไปยังภาพลักษณ์ด้านลบของบริษัทรับเหมา จราจร ระบบการขนส่งคมนาคมอีกด้วย

 

 

 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : info@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566