โรคบาดทะยัก
บาดทะยัก เชื้อโรคที่อาจจะไม่ได้เกิดจากสนิมเพียงอย่างเดียว

 

ทุกคนน่าจะรู้จักโรคนี้เป็นอย่างดี จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้ยินชื่อโรคนี้กันบ่อยคือ เวลาที่ถูกของมีคมขึ้นสนิมบาด ผู้ปกครองก็จะบอกให้รีบไปล้างทำความสะอาดแผลทันที เพราะกลัวจะเป็นบาดทะยัก อีกหนึ่งสิ่งที่จะเป็นภาพจำของผู้คนมากที่สุดคือ บาดทะยักจะเกิดจากแผลที่ถูกของมีคมขึ้นสนิมบาด ในความเป็นจริงสนิมเป็นเพียงแค่ 1 ในสาเหตุเท่านั้นเอง

 

 

 

 

บาดทะยัก มีสาเหตุมาจาก

 

 

บาดทะยัก หรือ Tetanus เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani (คลอสทริเดียม เททานี) มีรูปร่างเป็นแท่ง ส่วนปลายมีสปอร์ ซึ่งก็คือจุดพักตัวของแบคทีเรีย เพื่อรอการเจริญเติบโต สามารถพบได้ในฝุ่น ดิน และมูลสัตว์ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน และเป็นกับทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้การทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม หลังจากนั้นจะเกิดอาการตึงและกระตุก ซึ่งบาดทะยักก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

 

บาดทะยัก อาการเป็นอย่างไร

 

 

  • กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดอาการเกร็งเป็นระยะ คอและหลังเกร็ง ปากไม่สามารถอ้าได้ 

 

  • ปวดตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย 

 

 

 

  • กลืนน้ำลายลำบาก น้ำลายไหล ปวดกรามและศีรษะ

 

 

บาดทะยักและโรคแทรกซ้อน

 

 

  • ลิ่มเลือดเกิดอุดหลอดเลือดดำ

 

  • หายใจลำบาก เพราะกล้ามเนื้อบริเวณกล่องเสียงหดเกร็ง 

 

 

  • หัวใจและหลอดเลือดติดเชื้อ 

 

  • ถ้ากล้ามเนื้อหดตัวอย่างรุนแรง อาจจะทำให้ผู้ป่วยกระดูกหักบริเวณสันหลัง แขนและขา ได้

 

 

 

 

บาดทะยัก เกิดจากบาดแผลชนิดไหน

 

 

  • แผลจากการสักและเจาะ

 

  • แผลที่โดนไฟไหม้

 

  • แผลจากการโดนของมีคมบาด

 

  • การใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด

 

  • แผลสดที่ปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม

 

  • แผลที่เกิดจากการผ่าตัด

 

 

บาดทะยัก ดูแลรักษาอย่างไร

 

 

 

  • อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบาก

 

  • แพทย์อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพราะเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย

 

  • ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย

 

  • ทำการเปิดปากแผลให้กว้าง แล้วทำความสะอาด จากนั้นให้ตัดเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วออก สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยแผลยังไม่หายดี

 

 

 

 

วิธีป้องกันและดูแลแผลเมื่อเกิดบาดทะยัก

 

 

  • ผู้ที่ต้องทำงานที่เสี่ยงต่อการถูกของมีคมบาด ควรต้องฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า

 

  • ระมัดระวังไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล 

 

  • ฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักและคอตีบตามกำหนด

 

  • หากเกิดอุบัติเหตุและมีแผล ควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำเกลือ ตามด้วยเบตาดีนเพื่อฆ่าเชื้อ

 

  • ใช้ปลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซปิดแผล

 

 

ความเป็นจริงแล้วบาดทะยักไม่ได้เกิดขึ้นจากสนิมอย่างเดียว แต่สามารถเกิดจากสิ่งของอื่นที่มีความสกปรกปะปนอยู่ด้วย ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักและคอตีบตามกำหนดเวลา หากผู้ป่วยท่านไหนที่เกิดอุบัติเหตุจนเป็นแผลขึ้นมา หลังจากนั้นเริ่มรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงขึ้น และเข้าข่ายอาการบาดทะยัก ควรรีบแจ้งคนในครอบครัวและคนใกล้ตัว เพื่อพาเข้าพบแพทย์ทันที



 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก

 

ทำความรู้จักวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก