Rh System หมู่เลือดระบบพิเศษ
Rh System หมู่เลือดระบบพิเศษ

ระบบของหมู่เลือดจะมีระบบสำคัญอยู่ 2 ระบบ คือระบบเอบีโอ ABO และ ระบบอาร์เอช Rh ซึ่งหมู่เลือดระบบ Rh ที่เป็นลบนั้น เป็นหมู่เลือดระบบพิเศษ จึงมีความสำคัญในเรื่องของการรับเลือดเพื่อการรักษาพยาบาล และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในหญิงตั้งครรภ์

 

 

หมู่เลือดอาร์เอช (Rh blood group)

 

หมู่เลือดอาร์เอช (Rh blood group) ประกอบไปด้วยแอนติเจนที่มีความสำคัญทางคลินิก 5 ชนิด คือ แอนติเจนดีใหญ่ D, แอนติเจนซีใหญ่ C, แอนติเจนอีใหญ่ E, แอนติเจนซีเล็ก c, แอนติเจนอีเล็ก e  และแอนติเจนอื่น ๆ

 

แอนติเจนชนิดดีใหญ่ D เป็นแอนติเจนที่บ่งบอกชนิดของหมู่เลือด โดยจะแบ่ง 2 ชนิด คือ อาร์เอชบวก (Rh Positive)  และอาร์เอชลบ (Rh Negative)

 

หมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh+ หรือ Rh Positive) หมายถึง ผู้ที่มีแอนติเจนดีใหญ่ D อยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง พบได้ในกลุ่มคนไทยทั่วไป สามารถรับเลือดได้ทั้งชนิดอาร์เอชบวก และ อาร์เอชลบ

 

หมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh  Negative - Rh-) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีแอนติเจนดีใหญ่ D อยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นสามารถรับเลือดได้แค่เพียงชนิดอาร์เอชลบเท่านั้น จึงนับว่าเป็นหมู่เลือดที่หายาก โดยเฉพาะประเทศไทยที่จะพบคนที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ 3 ใน 1,000 คน

 

 

ความสำคัญของโลหิตหมู่พิเศษ

 

ผู้ที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ Rh- หากต้องการรับเลือดในการรักษาพยาบาล จำเป็นต้องได้รับเลือดที่มีหมู่ Rh- ด้วยเหมือนกัน เพื่อป้องกันการกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี ต่อ แอนติเจนชนิดดีใหญ่ D ในกรณีฉุกเฉิน

 

ผู้ป่วยที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ Rh- ที่ยังไม่สร้างแอนติบอดี ต่อแอนติบอดีชนิดดีใหญ่ D สามารถรับโลหิตหมู่เลือดอาร์เอชบวก Rh+  ได้เพียงแค่ 1 ครั้ง เพราะการรับโลหิตใรหมู่เลือดอาร์เอชบวก Rh+  อีก ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ทำลายเม็ดเลือดแดง เป็นอันตรายสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

 

การตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีหมู่เลือดพิเศษ

 

หากมารดามีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- บิดามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก บุตรคนแรกที่เกิดมาจะไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด เพราะมารดาจะสร้างภูมิต้านทานเม็ดเลือดของบุตรขึ้น

 

หากมารดามีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- บิดามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ต้องการมีบุตรเพิ่มมากกว่า 1 คน ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพราะถ้าบุตรในครรภ์มีหมู่เลือดอาร์เอชบวก Rh+   ภูมิต้านทานที่มารดาได้สร้างขึ้นหลังคลอดบุตรคนแรกไปแล้ว จะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของบุตรคนถัดไป ทำให้ทารกในครรภ์เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้

 

อีกทั้งมารดายังต้องได้รับยา Rh immunoglobulin (RhoGAM) ยาชนิดนี้มีคุณสมบัติในการป้องไม่ให้มารดาสร้างแอนติบอดีที่ไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดของทารก หากเลือดของมารดา และทารกเกิดการผสมกันในช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์

 

 

หมู่เลือดระบบพิเศษ

 

 

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

 

ผู้ที่มียีน (DD) หรือชนิด (Dd) และมีแอนติเจนดีใหญ่ D บนผิวเม็ดเลือดแดง จะมีหมู่โลหิตเป็นอาร์เอชบวก Rh+

 

ผู้ที่มียีนชนิด (dd) เพราะไม่มีแอนติเจนดีใหญ่ D บนผิวเม็ดเลือดแดง จะมีหมู่โลหิตเป็นอาร์เอชลบ Rh- ซึ่งเกิดจาก

 

  • 1. บิดา และมารดามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก Rh+ ทั้งคู่ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) บุตรจะมีโอกาสที่เป็นหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh-  25%

 

  • 2. บิดา และมารดาคนใดคนหนึ่งมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก Rh+ และมียีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) และอีกฝ่ายหนึ่งมีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- (dd) บุตรจะมีโอกาสที่เป็นหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- 50%

 

  • 3. บิดา และมารดามีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- ทั้งคู่ซึ่งมียีนด้อย dd ทั้งสองคน บุตรจะมีโอกาสที่เป็นหมู่โลหิตอาร์เอชลบ Rh- 100%

 

 

หากผู้ที่มีหมู่เลือดชนิดพิเศษ ควรติดต่อจากธนาคารเลือดในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้บริจาคเลือดหมู่พิเศษ เพื่อทำการบริจาคเลือด ใช้รักษาพยาบาลผู้ป่วยที่จำเป็นที่จะต้องใช้เลือดหมู่พิเศษ อีกทั้งผู้ที่ต้องการวางแผนจะมีบุตรควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ และทำการตรวจหาความเข้ากันได้ของโลหิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับบุตร

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ชาย-หญิง