“ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้” อาการเหล่านี้เชื่อว่าทุกคนต้องเคยประสบพบเจอมาก่อน บางคนอาจจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า “เป็นไข้” หากเป็นหนักขึ้นมาหน่อยจะเรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่” แม้โรคนี้จะพบได้บ่อยเพราะไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ แต่แน่ใจแล้วหรือว่าท่านรู้จักโรคไข้หวัดนี้ดีแล้ว วันนี้เราจะมาตีแผ่โรคไข้หวัดตัวร้ายที่ทำให้เราต้องนอนซมอยู่บนเตียงนานหลายวันให้ทะลุปรุโปร่งกันดีกว่า
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด ซึ่งสามารถพบได้ในฤดูหนาวและฤดูฝน หรือช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างฉับพลัน การติดเชื้อจะมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดาโดยสามารถติดต่อผ่านการไอ เสมหะ น้ำลาย และการติดต่อมาจากผู้อื่น โดยเชื้อไวรัสจะมีระยะฟักตัว 1-3 วัน ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
การติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่
การได้รับเชื้อจากการสัมผัสต่าง ๆ เช่น การหายใจเอาเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไปในร่างกาย การรับของเหลวที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่เข้าไปในร่างกาย เช่น การสัมผัสโดนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว นอกจากนี้โรคไข้หวัดใหญ่ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ ลูกบิดประตู เป็นต้น โดยจะได้รับเชื้อผ่านทางตา จมูก และปากอีกด้วย
ดูอย่างไรว่าป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
แม้โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคล้ายคลึงกันมาก แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่นั้นจะเกิดอาการป่วยอย่างฉับพลัน และมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ บางรายอาจจะมีอาการไอ จาม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และคัดจมูกร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ การติดเชื้อในหู กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน และอาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายจนเสียชีวิตได้
นอกจากนี้โรคไข้หวัดใหญ่ยังมีผลให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด และโรคปอดเรื้อรังมีอาการทรุดหนักลงอีกด้วย
วิธีการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
โดยปกติแล้วสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไปเนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ โดยการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นไปตามอาการและขึ้นอยู่กับชนิดของสายพันธุ์ที่ผู้ป่วยเป็นด้วย เช่น หากผู้ป่วยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ไม่รุนแรง แพทย์จะให้รับประทานยาลดไข้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะให้รับประทานยาต้านไวรัสทันที
การป้องกันตัวเองเพื่อให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถฉีดได้ปีละครั้ง นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่เพิ่มความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
ไม่ใช้วัตถุสิ่งของร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคและป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีประโยชน์
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เพราะอาจจะทำให้ได้รับเชื้อไวรัสมาโดยไม่รู้ตัว
_________________________________
ติดต่อแผนกอายุรกรรม
วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-20.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 19.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง