โรคใหลตาย
โรคใหลตาย อันตรายที่อาจเสี่ยงถึงชีวิต

 

โรคใหลตาย, ใหลตาย (Brugada Syndrome) เป็นโรคอันตรายที่คุณอาจจะไม่ได้มีโอกาสเป็นครั้งที่สอง เพราะโรคนี้ไม่ได้มีสัญญาณใดบ่งบอกว่าจะเกิดขึ้น พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน โดยทางอีสานมักจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ แต่แท้จริงแล้ว โรคใหลตาย เป็นเพียงภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ที่เรียกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

 

 

สาเหตุของโรคใหลตาย

 

 

 

 

 

 

  • เกิดจากพันธุกรรม ที่อาจมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตกระทันหัน แบบไม่มีสาเหตุ

 

 

  • ร่างกายขาดแร่โพแทเซียม

 

 

  • การขาดสารอาหารบี 1 อย่างรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง กลายเป็นอ่อนเพลีย และอยากนอน เมื่อหลับแล้วอาจจะเกิดหัวใจวายขึ้นทันที

 

 

  • อาจสัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการ และนิสัยการรับประทานอาหารแบบผิด ๆ 

 

 

ประเภทของบุคคลที่มีความเสี่ยง

 

 

 

 

  • ผู้ชายวัยกลางคน และวัยทำงาน

 

 

  • เชื้อชาติ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

  • ผู้ป่วยที่มียีนเกี่ยวข้องกับอาการบรูกาด้า

 

 

อาการของโรคใหลตาย 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ชัก เป็นลม หมดสติ

 

 

  • ในเวลากลางคืน จะหายใจลำบาก

 

 

  • เสียชีวิตกระทันหัน

 

 

การวินิจฉัยโรคใหลตาย

 

 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) 

 

 

แพทย์จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่หน้าอกของผู้ป่วย เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้า และจับจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงวิธีเดียว อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพมากนัก เพราะหัวใจของแต่ละบุคคล จะมีจังหวะการเต้นที่ไม่เสถียร

 

 

การตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology)

 

 

แพทย์อาจจะใช้วิธีนี้ เพื่อช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะมีวิธี คือ ใช้สายสวนผ่านบริเวณเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ เข้าไปจนถึงหัวใจ และจะส่งสัญญาณไฟฟ้า ไปที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ 

 

 

การตรวจรหัสทางพันธุกรรม 

 

 

แพทย์อาจจะให้บุคคลในครอบครัวของผู้ป่วย ทำการเข้าตรวจหา DNA เพื่อวิเคราะห์ และหาว่าจะมีโอกาสการเกิดโรคใหลตายขึ้นไหม 

 

 

การรักษาโรคใหลตาย 

 

 

  • ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ

 

 

  • การจี้หัวใจ

 

 

  • การใช้ยาบางชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

 

การป้องกันโรคใหลตาย

 

 

 

 

  • เข้าพบแพทย์ หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจถี่ เป็นต้น 

 

 

  • ลดความเครียดลง

 

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอกอฮอล์ และยาบางชนิดที่อาจส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ

 

 

  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใหลตาย แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อสังเกตจังหวะการเต้นของหัวใจตลอดเวลา

 

 

โรคใหลตาย เป็นโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเกิดขึ้น ท่านอาจไม่มีโอกาสแก้ตัวเป็นครั้งที่สอง ดังนั้น การดูแลป้องกัน และหมั่นสังเกตตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง หากท่านใดมีอาการ เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจถี่ เริ่มหายใจลำบาก ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการโดยด่วน อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่า ท่านเสี่ยงเป็นโรคใหลตายได้ 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

 

นอนน้อย นอนดึก แต่นอนนะ แน่ใจหรือว่าไม่เสี่ยงโรค

 

เช็กความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

 

อดนอน ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ