น้ำเข้าหู
น้ำเข้าหู นำไปสู่หูชั้นนอกอักเสบได้

 

เชื่อว่าหลายท่าน น่าจะเคยประสบพบเจอปัญหา ที่ไม่ใช่เฉพาะนักกีฬา แต่ผู้คนธรรมดาสามารถเจอได้เช่นกัน คือ น้ำเข้าหู หรือ Swimmer’s ear

 

 

น้ำเข้าหู อาการเป็นอย่างไร 

 

 

เกิดจากการที่มีน้ำค้างอยู่ภายในหู บางท่านพยายามเอาน้ำในหูออกโดยใช้ไม้ปั่นหู ปั่นจนเกิดแผลถลอก และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยก่อให้เกิดอาการของหูชั้นนอกอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อจะแสดงอาการ เช่น ปวดภายในรูหู หูอื้อ มีน้ำเหลืองไหลออกมาจากภายในรูหู ถ้าใช้เครื่องมือส่องกล้องเข้าไป ภายในจะเกิดช่องหูที่บวมแดง และมองเห็นแก้วหูไม่ชัด โยกใบหูแล้วเจ็บ หรือกดเจ็บบริเวณหน้าใบหู 

 

 

ถ้าน้ำเข้าหู จะเป็นอันตรายหรือไม่

 

 

ถ้าภายในช่องหูสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรก และไม่ได้เป็นไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัด น้ำเข้าหูอาจจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ แต่ถ้าหากน้ำที่ขังอยู่ไหลเข้าไปรวมตัวกับขี้หู จนทำให้ขยายใหญ่ขึ้น และเกิดการปิดกั้นบริเวณช่องหู อาจจะทำให้เกิดแรงกดภายในช่องหู ส่งผลให้หลังจากนั้นเกิดอาการปวดตามมา ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะนำไปสู่การติดเชื้อ ทำให้กลายเป็นหูชั้นนอกอักเสบได้

 

 

น้ำเข้าหู มีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร

 

 

 

 

หูชั้นนอกอักเสบ

 

 

เมื่อน้ำเข้าหู ส่งผลให้ผนังช่องหูชั้นนอกเปียกและแฉะ ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย ถ้าพยายามแคะหู อาจจะทำให้หูชั้นนอกเกิดการอักเสบและเกิดแผลขึ้น จากนั้นจะเกิดการติดเชื้อภายในช่องหูตามมา 


 

ขี้หูอุดตันเยอะขึ้น

 

 

เมื่อน้ำเข้าหู ส่งผลให้ขี้หูเกิดการอุ้มและบวมน้ำ ทำให้อุดตันบริเวณช่องหูชั้นนอก ก่อให้เกิดอาการหูอื้อ ถ้ายิ่งพยายามแคะหู จะทำให้ดันขี้หูเข้าไป ส่งผลให้อุดตันมากขึ้น 

 

 

น้ำเข้าหู ควรทำอย่างไร

 

 

  • การใช้ยาหยอดหู เช่น ยาหยอดหูแบบแอลกอฮอล์ หรือ ยาหยอดหูแบบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 

 

 

  • การเอียงศรีษะ ช่วยให้น้ำที่ค้างไหลออกมา ควรนอนตะแคงให้หูข้างที่มีน้ำอยู่ขนานกับพื้น

 

 

  • การใช้ผ้าเช็ดบริเวณภายนอกของหู ควรเช็ดเบา ๆ ที่บริเวณภายนอกของหูเท่านั้น

 

 

  • ใช้ไดร์เป่าผม โดยใช้เบอร์ต่ำที่สุดเป่าเข้าไปภายในหู ความร้อนจากไดร์เป่าผมอาจจะทำให้น้ำระเหยได้

 

 

 

 

การรักษาน้ำเข้าหูทำอย่างไร

 

 

แพทย์จะส่องหูโดยใช้เครื่องมือเพื่อประเมินอาการว่ารุนแรงเพียงใด ถ้ารุนแรงมาก แพทย์จะใช้ยาหยอดเข้าไปในรูหู ประกอบกับใช้ลำลีฆ่าเชื้อ หรือ Ear wick เช็ดทำความสะอาดที่บริเวณหูชั้นนอก 

โดยแพทย์อาจจะนัดเปลี่ยนสำลีฆ่าเชื้อประมาณ 48-72 ชั่วโมง

 

 

 

 

น้ำเข้าหู สามารถป้องกันได้อย่างไร 

 

 

  • ขณะอาบน้ำ หรือทำกิจกรรมว่ายน้ำ ควรใส่ซิลิโคนหรือหมวกคลุมผม โดยคลุมลงมาปิดใบหู เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู

 

 

  • ใช้วัสดุที่ทำการหล่อขึ้นมา เพื่อให้เข้ากับขนาดใบหู มีชื่อเรียกว่า Ear mold ซึ่งเป็นวัสดุที่กันน้ำได้ดี มีทั้งแบบสำเร็จรูป และสั่งทำเอง 

 

 

  • ใช้ Ear plug หรือวัสดุอุดรูหูที่นักดำน้ำใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู

 

 

น้ำเข้าหู เป็นอาการที่เหมือนจะไม่มีอะไรรุนแรง แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดโรคหูชั้นนอกอักเสบ และไม่ควรแคะหู เพราะว่าอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ขี้หูอุดตันได้ ท่านใดที่น้ำเข้าหูระหว่างอาบน้ำ หรือขณะทำกิจกรรมว่ายน้ำอยู่ แล้วเกิดอาการที่รุนแรงตามมา ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยทันที



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิกหูคอจมูก