ตำมะม่วง ซอฟต์พาวเวอร์ทางอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ
ตำมะม่วง ซอฟต์พาวเวอร์ทางอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ

ตำมะม่วง คือ เมนูส้มตำที่เปลี่ยนจากวัตถุดิบหลัก จากมะละกอดิบมาเป็นมะม่วงเปรี้ยวแทน รสชาติเผ็ด เปรี้ยว อาจจะมีเค็มบ้างหากใส่ปลาร้าลงไป กลายเป็นกระแสฮือฮาเมื่อสมาชิกศิลปินวงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีชื่อดังสัญชาติไทย อย่างลิซ่า Blackpink โพสต์รับประทานเมนูนี้ลงบนโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้ที่ติดตามเขาจำนวนมากบริโภคตามกัน ซึ่งอาหารชนิดนี้มีทั้งประโยชน์และผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน

 

 

ตำมะม่วงใส่อะไรบ้าง

 

  • มะม่วงดิบรสเปรี้ยวสับเป็นชิ้นฝอย

 

  • พริกแห้ง

 

  • พริกขี้หนูสด

 

  • มะเขือเทศ

 

  • กระเทียม

 

  • ถั่วฝักยาว

 

  • มะนาว

 

  • น้ำปลา

 

  • น้ำตาลปี๊บ

 

  • ถั่วลิสง

 

  • ปูเค็ม

 

  • ปลาป่น

 

  • ปลาร้า

 

  • อาจใส่เนื้อสัตว์อื่นลงไปด้วย เช่น กุ้งสด ปูทะเล

 

 

 ตำมะม่วงกุ้งสด

 

 

ตำมะม่วงกี่แคล

 

1 จาน จะอยู่ที่ 223 กิโลแคลอรี ซึ่งมีข้อมูลโภชนาการ ดังนี้

 

  • ไขมัน

 

  • โซเดียม

 

  • โพแทสเซียม

 

  • ใยอาหาร

 

  • โปรตีน

 

  • คาร์โบไฮเดรต

 

  • น้ำตาล

 

สารอาหารต่าง ๆ

 

  • วิตามินเอ บี 6 12 ซี และดี

 

  • แคลเซียม

 

  • ไนอาซิน

 

  • ไทอามิน

 

  • ฟอสฟอรัส

 

  • แมกนีเซียม

 

 

ระบบขับถ่ายดี

 

 

ตำมะม่วงดีอย่างไร

 

จากข้อมูลโภชนาการที่กล่าวมาในหัวข้อข้างต้น สารอาหารหลายชนิดให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การไหลเวียนโลหิต

 

  • แก้ปัญหาอาการความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ลดระดับไขมันในเลือด อาการวิงเวียนศีรษะ

 

  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เลือดออกตามไรฟัน

 

  • บำรุงสายตา เส้นผม ผิวพรรณ

 

 

 ใบชะพลู

 

 

ตำมะม่วงภาคเหนือ

 

ปกติอาหารประเภทส้มตำมักจะคิดว่ามาจากอีสาน แต่ตำมะม่วงของภาคเหนือโบราณจะมีเอกลักษณ์ ซึ่งกรรมวิธีในการประกอบอาหารและวัตถุดิบมีความคล้ายคลึงกัน แต่จะรับประทานพร้อมกับใบชะพลูเป็นคำ ๆ ร่วมกับชะอม ผักบุ้ง พืชท้องถิ่นที่หาได้ รวมทั้งอาจเปลี่ยนมะม่วงที่เป็นส่วนผสมหลักมาเป็น กระท้อน มะยม มะปราง หรือผลไม่รสเปรี้ยวอื่นได้

 

 

เนื่องด้วยตำมะม่วงเป็นอาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่างหรือเติมปริมาณพริก น้ำปลา น้ำตาลเยอะจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น ปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด ความเสี่ยงโรคไต เบาหวาน กระเพาะอักเสบ รวมทั้งผู้ที่มักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อยอยู่บ่อย ๆ ควรหลีกเลี่ยงมะม่วงดิบรสเปรี้ยว

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้