ยานอนหลับ ใช้ผิดวิธีความเสี่ยงถึงขั้นสมองเสื่อม
ยานอนหลับ ใช้ผิดวิธีความเสี่ยงถึงขั้นสมองเสื่อม

ยานอนหลับ (Sleeping pills) คือ ยาที่ช่วยออกฤทธิ์ในการนอนหลับ บรรเทาความเครียด วิตก กังวล ทั้งนี้หากหาซื้อมาใช้เอง โดยปราศจากความดูแลของแพทย์นั้น จะส่งผลต่อสมองเสื่อมเร็วลงและระบบประสาทเสียหายได้ ถ้ารับประทานติดต่อกันหรือในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะยาชนิดนี้มีหลากหลายแบบ โครงสร้างทางเคมีและผลทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อมันไปกดประสาทส่วนกลางอาจทำให้การควบคุมในทางเดินหายใจรับผลกระทบด้วย

 

 

ยานอนหลับมีอะไรบ้าง

 

Benzodiazepines

 

ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท GABA กระตุ้นให้สมองรู้สึกง่วงนอน ออกฤทธิ์แรง คลายกล้ามเนื้อ ใช้รักษาโรคลมชัก ได้แก่

 

  • Alprazolam

 

  • Clonazepam

 

  • Lorazepam

 

  • Diazepam

 

Nonbenzodiazepines

 

ดูดซึมได้ดี ออกฤทธิ์เร็วหลังรับประทานประมาณ 30 นาที นาน 8 ชั่วโมง เป็นกลุ่มยาที่แพทย์มักจ่ายยาให้ผู้ป่วย เช่น

 

  • Zolpidem

 

  • Ambien

 

  • Zopiclone

 

Melatonin

 

  • เป็นสารธรรมชาติที่ทำให้ง่วงนอน หลั่งตอนที่มีแสงสว่างน้อย สังเคราะห์ขึ้นมา เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นกะ นอนไม่เป็นเวลา

 

Antidepressants

 

  • เป็นกลุ่มยาต้านเศร้า ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทส่วนกลาง มีทั้งรูปแบบชนิดเม็ด น้ำ สามารถรักษาไมเกรน ซึมเศร้าและลำไส้อักเสบได้ แต่เด็ก วัยรุ่น แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้

 

 

ยานอนหลับชนิดรุนแรง

 

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับ

 

เมื่อใช้ไปในปริมาณหนึ่ง ผ่านไปช่วงระยะเวลาสักพัก จะรู้สึกว่าประสิทธิภาพของยานอนหลับลดน้อยลงหรือเรียกว่าดื้อยา ต้องเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ เป็นประจำก่อนนอนทุกวันจนเสพติดขึ้น อาจได้รับพิษดังนี้

 

ระยะสั้น

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ท้องเสียหรือมีปัญหาด้านการขับถ่าย

 

  • อาหารไม่ย่อย

 

  • ปากแห้ง

 

  • คิดอะไรไม่ค่อยออกหรือตัดสินใจเรื่องที่ง่ายอย่างอยากลำบาก

 

ระยะยาว

 

ความเสี่ยงต่อโรคหรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • อัลไซเมอร์

 

  • ซึมเศร้า

 

  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

  • หยุดหายใจขณะหลับ

 

  • อุบัติเหตุทางจราจรหรือในขณะทำงาน

 

 

สมองเสื่อม

 

 

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ

 

  • ผู้ป่วยโรคตับและไต

 

  • วัยชราที่สูงอายุ

 

  • สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

 

  • ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะหลับ

 

  • พฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

 

 

MRI สมอง

 

 

ใช้ยานอนหลับอย่างไรให้ปลอดภัย

 

ปฏิบัติตัวตามสุขอนามัย ดังนี้

 

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและการสูบบุหรี่

 

  • ผ่อนคลายความเครียด

 

  • ออกกำลังกาย

 

  • กำหนดเวลาตื่นนอนให้เป็นเวลา

 

  • จัดห้องนอน เตียง บรรยากาศให้เงียบ สงบ ไม่มีแสงไฟสว่างเกินไป

 

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานอนหลับ

 

 

ทั้งนี้ในการเลิกยานอนหลับสำหรับผู้ที่เสพติดเข้าไปแล้ว ควรค่อยปรับพฤติกรรมการนอนในหัวข้อข้างต้น เพราะอาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งหากมีอารมแปรปรวน ลืมบ่อย นี่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางสมอง สามารถมาทำการตรวจความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้ ที่โรงพยาบาลเพชรเวช เพราะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์แล้ว ยังมีเครื่องมือ MRI เทคโนโลยีที่จะช่วยวินิจฉัยได้อย่างละเอียด ตรงจุด สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง