ไส้เลื่อน สังเกตความผิดปกติก่อนจะเป็น
ก่อนจะมาเป็นไส้เลื่อน ความผิดปกติที่สังเกตได้

ไส้เลื่อน ภาวะความผิดปกติของร่างกายจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเยื่อบุช่องท้องไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องมีความอ่อนแอ ได้รับอุบัติเหตุหรือเข้ารับการผ่าตัด รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดสุขลักษณะโดยไม่ทราบตนเอง เช่น ไอ จามอย่างรุนแรง ยกของที่มีน้ำหนักมาก เบ่งก้อนอุจจาระขณะขับถ่าย เป็นต้น

 

 

อาการก่อนที่จะมาเป็นโรคไส้เลื่อน

 

 

  • มีก้อนนูนออกมาจากภายในร่างกายบริเวณช่องท้อง

 

 

  • หากไม่มีก้อนนูนขึ้นมา อาจเกิดการอาเจียน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก

 

 

  • มีอาการเจ็บ ปวด จุก แน่น ภายในท้อง

 

 

  • อาการจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดการไอ จาม หรือยกของที่มีน้ำหนักเยอะ

 

 

 

 

 

 

 

การวินิจฉัยไส้เลื่อน ทำอย่างไร

 

 

  • ตรวจร่างกายด้วยวิธีการคลำก้อนนูน โดยจะให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือยืน

 

 

  • ตรวจเช็คก้อนด้วยการให้ผู้ป่วยไอ เพื่อให้เกิดการเบ่ง และสังเกตว่ามีก้อนนูนหรือไม่ 

 

 

  • แพทย์อาจจะมีการตรวจโดยใช้วิธีอัลตราซาวนด์ หรือ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อผลไม่แน่ชัดหรือต้องการผลเพิ่มเติมแบบละเอียด

 

 

ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรมาทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันอันตรายจากความรุนแรงที่เสี่ยงจะเกิดขึ้น ทั้งนี้หลังรับการรักษา ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่อุดมไปด้วยกากใยสูง หลีกเลี่ยงการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป งดสูบบุหรี่ รวมทั้งควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ



 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ไส้เลื่อนกับผู้สูงอายุ

 

 

ไส้เลื่อนขาหนีบ โรคที่คุณผู้ชายควรอ่าน

 

 

ไส้เลื่อนที่สะดือ ภาวะในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ควรมองข้าม

 

 

ไส้เลื่อนกระบังลม