เนื้องอกในรังไข่ โรคที่สตรีทุกวัยไม่ควรละเลย
เนื้องอกในรังไข่ โรคที่สตรีทุกวัยไม่ควรละเลย

เนื้องอกในรังไข่ (Ovarian Tumor) คือ ก้อนเนื้อที่พบได้สำหรับสุภาพสตรีทุกวัย มีไม่กี่ลักษณะอาจเป็นถุงน้ำ ที่มักจะเรียกกันว่าซีสต์ หรือเป็นเนื้อร้ายอย่างมะเร็งก็ได้ ซึ่งอวัยวะนี้จะผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ เพื่อรอผสมกับเชื้ออสุจิ พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารกในครรภ์ต่อไป เปรียบเสมือนดังลูกอัณฑะของเพศชาย มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในช่วงวัยเจริญพันธุ์

 

 

สาเหตุเนื้องอกในรังไข่

 

มาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของสุภาพสตรี ดังนี้

 

  • กรรมพันธุ์ บุคคลในครอบครัวเพศหญิงที่สืบเชื้อสายกันมา ไม่ว่าจะเป็นมารดา ย่า ยาย มีประวัติป่วยเป็นมะเร็งทางนรีเวช

 

  • มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (อายุต่ำกว่า 11 ปี)

 

  • ประสบภาวะมีบุตรยาก

 

  • น้ำหนักตัวเยอะเกินไป

 

  • สูบบุหรี่

 

  • เข้ารับการรักษาโดยใช้ยาต้านฮอร์โมน

 

 

อ้วน

 

 

อาการเนื้องอกในรังไข่

 

ก้อนเนื้อที่ขยายอาจไปเบียดทับอวัยวะใกล้เคียงกัน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ดังนี้

 

  • บริเวณท้องน้อยมีก้อนซึ่งสามารถจับ คลำพบได้ และมักจะปวด

 

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ

 

  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น

 

  • หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น

 

  • ขับถ่ายไม่สะดวก

 

  • มีโลหิตไหลออกจากโพรงมดลูก

 

 

ปวดท้องน้อย

 

 

การวินิจฉัยเนื้องอกในรังไข่

 

ขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ รวมทั้งประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว หลังจากนั้นจะทำการคลำตรวจก้อนบริเวณท้องน้อยก่อน และทำการตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์  ไม่ว่าจะเป็น

 

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan

 

  • MRI

 

ตรวจโลหิต

 

  • เพื่อดูสารมะเร็งรังไข่ CA 125

 

ตรวจชิ้นเนื้อ

 

  • สามารถจำแนกประเภทของเนื้องอกได้

 

 

ตรวจ CA 125

 

 

การรักษาเนื้องอกในรังไข่

 

ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกขนาดเล็ก หรือเป็นลักษณะของถุงน้ำ จะรักษาโดยการ

 

  • รับประทานยา

 

  • เฝ้าติดตามอาการ โดยตรวจอัลตราซาวด์เป็นระยะ

 

หากก้อนนี้ไม่ยุบหรือมีท่าทีขยายขนาดขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีการแตก โลหิตไหล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด

 

เนื้องอกร้ายที่กลายเป็นมะเร็ง จะต้องผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัดหรือรักษาทางรังสี

 

 

 หามะเร็งในรังไข่

 

 

ผ่าตัดเนื้องอกในรังไข่

 

แบบเปิดหน้าท้อง

 

  • บริเวณนั้นจะมีแผลยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้เวลาในการพักฟื้นนาน 6-8 สัปดาห์ ต้องงดน้ำ อาหาร หลังผ่าตัด

 

ผ่าตัดผ่านกล้อง MIS

 

  • เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยมีแผลเล็ก ลดการสูญเสียโลหิต พังผืด การติดเชื้อและระยะเวลาฟื้นตัว หลังการผ่าตัดนอนโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน สามารถทั้งนี้ยังอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ที่ทำหัตถการ

 

 

เนื้องอกในรังไข่ตอนตั้งครรภ์

 

 

เนื้องอกในรังไข่และการตั้งครรภ์

 

ผู้ป่วยเนื้องอกในรังไข่ หากพบว่ากำลังตั้งครรภ์ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์รวมทั้งมารดา เช่น

 

การบิดขั้วของรังไข่

 

  • โดยเฉพาะอายุครรภ์ที่มากกว่า 16 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะมดลูกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

 

เนื้องอกแตก

 

  • ทำให้เกิดการตกเลือดภายในช่องท้อง ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

 

เนื้องอกกลายเป็นมะเร็ง

 

  • ส่งผลให้มีอาการเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด และเพิ่มความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรสูง

 

คุณแม่ที่ยังมีเนื้องอกขนาดไม่เกิน 5-6 เซนติเมตร แพทย์จะยังไม่ทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น แต่ถ้าเนื้องอกมีการขยายใหญ่ขึ้น ประเมินดูแล้วว่าอาจเป็นมะเร็งสูง จะต้องรอผ่าตัดในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ทั้งนี้ผู้ที่เคยผ่าตัดรังไข่สามารถมีบุตรได้ หากถูกตัดออกไปเพียงข้างเดียวยังคงมีฮอร์โมนเพศ การตกไข่ ประจำเดือน แต่ถ้าสูญเสียไปทั้ง 2 ข้าง จะไม่มีเซลล์ไข่ตกลงมา การตั้งครรภ์โดยธรรมชาติจึงไม่สามารถทำได้

 

 

คุณสุภาพสตรีทุกวัยหากมีความผิดปกติ ควรมาพบสูตินรีแพทย์ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชมีความพร้อมที่จะให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งการผ่าตัดส่องกล้องซีสต์บริเวณมดลูกและรังไข่ การฝากครรภ์ ตรวจ CA 125 จากโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี อัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่อีกด้วย

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

สูตินรีเวช

 

 

ผ่าตัดซีสต์/มดลูกและรังไข่ ผ่านกล้อง

 

 

ซีสต์ในรังไข่คืออะไร ใช่มะเร็งหรือไม่