ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โรคที่ไม่แสดงความผิดปกติในระยะแรก
ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โรคที่ไม่แสดงความผิดปกติในระยะแรก

ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (Colonic Polyp) คือ การเกิดของลักษณะก้อนเนื้องอกเล็ก ๆ ที่ยื่นออกมาบริเวณเซลล์ผิวผนังลำไส้ใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มิลลิเมตร ไปจนถึงหลายเซนติเมตร ซึ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ในอนาคต แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Pedunculated และ Sessile

 

 

ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่เกิดจากอะไร

 

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มีวิจัยหรือข้อสรุปใดที่บ่งบอกได้ถึงสาเหตุของโรค มีเพียงข้อสันนิษฐานที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

 

  • กรรมพันธุ์

 

  • ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป

 

  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติเคยป่วยเป็นเนื้องอกหรือโรคมะเร็งอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร

 

  • การบริโภคอาหารไขมันสูง

 

  • รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยน้อย

 

 

กินไขมันเยอะ

 

 

อาการติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่

 

ผู้ที่มีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มักจะไม่แสดงความผิดปกติ นอกเสียจากว่าติ่งเนื้อนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นมาก จนโลหิตไหลออก ซึ่งสอดคล้องกับผลตรวจของโลหิตจางได้ หากกลายเป็นมะเร็งเนื้อร้ายแล้ว จะแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ถ่ายเป็นเลือด

 

  • มีโลหิตปนอุจจาระ

 

  • ปวด แน่น บริเวณหน้าท้อง

 

  • ลำไส้อุดตัน

 

  • ไม่สามารถผายลมออกไปได้

 

 

ขับถ่ายไม่สะดวก

 

 

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

 

  • เป็นการตรวจดูว่าติ่งเนื้อนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ทั้งนี้หากมีขนาดเล็กก็สามารถนำออกมาได้

 

  • ลักษณะเป็นท่อยาว นิ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11 มิลลิเมตร ตรวจผ่านทางทวารหนัก

 

  • 1-2 วันก่อนตรวจ ผู้เข้ารับบริการต้องรับประทานอาหารอ่อนและยาระบาย

 

  • ใช้เวลา 15-30 นาทีโดยประมาณ

 

นอกจากนี้การตรวจดูติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ยังสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

 

ตรวจอุจจาระ

 

  • หาการปนเปื้อนของโลหิต

 

ส่องกล้อง Endoscopic Submucosal Dissection

 

  • หรือ ESD ลักษณะเดียวกันกับ Colonoscopy แต่สามารถนำติ่งเนื้อขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตรขึ้นไป ออกมาได้

 

การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

 

  • CT Colonography สามารถเห็นลำไส้ได้ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งอวัยวะในระบบทางเดินอาหารข้างเคียงบริเวณหน้าท้อง

 

 

ส่องกล้องพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่

 

 

การป้องกันติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่

 

ลดพฤติกรรมเสี่ยงโดยการ

 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น

 

  • บริโภคอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงสุก ใหม่ มีความร้อน

 

  • เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีกากใยสูง

 

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรมาทำการตรวจอวัยวะทางเดินอาหาร

 

 

โรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถเลือกใช้ยานอนหลับ ในราคาที่เอื้อมถึงได้ ทั้งนี้ท่านใดที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเรื่องสุขภาพ โปรโมชั่นตรวจสุขภาพต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ช่องทาง Line: @petcharavej

 

เพิ่มเพื่อน

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ

 

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากการขับถ่าย