ปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง ผลกระทบของสตรีวัยทำงาน
ปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง ผลกระทบของสตรีวัยทำงาน

ปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรค MS เป็นการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางที่มีหน้าที่นำสื่อประสาท ส่งผลกระทบต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา เนื่องจากถูกภูมิคุ้มกันทำลายเพื่อป้องกันใยประสาทจนเกิดแผลที่เนื้อเยื่อนั้นขึ้น มักพบผู้ป่วยในเพศหญิงวัยทำงานตั้งแต่ 18-45 ปี แต่ผู้ชายหรือสตรีอายุเท่าไหร่ ก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้ อีกทั้งในความรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หนักถึงขั้นใช้ชีวิตประจำวันอย่างลำบากหรือทุพพลภาพได้

 

 

ปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็งเกิดจากอะไร

 

ปัจจุบันทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำการวิจัยให้ข้อมูลออกมาว่าอะไรคือสาเหตุของโรค แต่มีข้อสันนิษฐานจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

 

พันธุกรรม

 

  • ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น แต่ถ้าบุคคลภายในครอบครัวเป็นก็มีความเสี่ยง

 

ติดเชื้อไวรัส EVB

 

  • จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเปลี่ยนแปลงที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น

 

ขาดวิตามินดี

 

การสูบบุหรี่

 

โรคบางชนิด

 

  • ลำไส้อักเสบ

 

  • เบาหวาน

 

  • ไทรอยด์

 

 

สูบบุหรี่

 

 

อาการปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง

 

การมองเห็น

 

  • เจ็บตา

 

  • มองไม่ชัด

 

  • เห็นภาพซ้อน

 

  • มักจะเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่ง

 

สมอง

 

  • คิด ตัดสินใจ จำข้อมูลได้ช้า

 

  • อารมณ์แปรปรวน

 

  • ซึมเศร้า

 

การทรงตัว

 

  • แขน ขาอ่อนแรงหรือกระตุก

 

  • มือสั่น

 

  • ล้มง่าย

 

การพูด

 

  • ออกเสียงไม่ชัด

 

  • เคี้ยวอาหารลำบาก

 

ระบบขับถ่าย

 

  • ปัสสาวะบ่อย

 

  • กลั้นไม่ค่อยอยู่

 

  • ท้องผูก

 

นอกจากนี้ยังรู้สึกชาบริเวณใบหน้า เมื่อขยับคอจะเหมือนโดนไฟดูด

 

 

ปวดหัวตาลาย

 

 

การวินิจฉัยปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง

 

ระบบประสาท ดูการตอบสนอง

 

  • ตรวจการมองเห็น

 

  • การเคลื่อนไหวของดวงตา

 

  • ความแข็งแรงของข้อมือ

 

ตรวจโลหิต

 

  • เพื่อดูปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

 

ใช้เครื่อง MRI

 

  • ดูความผิดปกติของสมองหรือรอยแผลตรงกระดูกสันหลัง

 

เจาะน้ำไขสันหลัง

 

 

ตรวจสมอง MRI

 

 

การรักษาปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง

 

ใช้ยาชะลออาการ

 

เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่หายขาด และยามีผลข้างเคียง ดังนั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีตัวยา ได้แก่

 

  • สเตียรอยด์

 

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ

 

  • ยาแก้ปวด

 

กายภาพบำบัด

 

  • เพื่อลดอาการเกร็งของแขน ขา และเดินเซ โดยการยืดเส้น เล่นโยคะ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว รวมทั้งอาจมีการฉีดยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

 

 

เล่นโยคะ

 

 

การป้องกันปลอกประสาทอักเสบเสื่อมแข็ง

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • รับประทานอาหารที่ประโยชน์

 

  • ผ่อนคลายความเครียดอย่างถูกสุขลักษณะ

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

 

  • สังเกตร่างกาย หากมีความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

 

 

แม้ว่าโรคนี้จะพบในชาวตะวันตก แต่ด้วยวิถีชีวิตของคนวัยทำงานที่มีความเร่งรีบ เครียดกับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก็สามารถป่วยได้ โดยโรงพยาบาลเพชรเวชมีเครื่อง Magnetic Resonance Imaging  หรือ MRI ค่อยให้บริการตรวจหาความผิดปกติของสมอง

 

 

 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ขอใบเสนอราคาสำหรับองค์กรหรือบริษัท อีเมล : info@petcharavej.com  หรือสอบถามช่องทาง Line : @petcharavej คลิก

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

MRI หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) 

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI