รู้จักนิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร รักษาอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไร? (อัปเดตเนื้อหา 2567)

นิ่วในถุงน้ำดี คือ โรคที่เกิดจากการตกผลึกของคอเลสเตอรอล เม็ดสีบิลิรูบิน และการตกค้างของของเสียในถุงน้ำดี ซึ่งการตกผลึกของสารเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว อาจจะเป็นเพียงก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเล็ก ๆ หลาย ๆ ก้อนก็ได้ โดยในระยะเริ่มแรกโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่มักจะตรวจเจอจากการตรวจสุขภาพ ส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และพบมากในเพศหญิง นิ่วในถุงน้ำดีหากปล่อยเอาไว้นานอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 

 

วีดีโอสั้น ๆ ที่จะช่วยสรุปเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับโรคนิ่วในถุงน้ำดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

 

สาเหตุการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

 

  • เกิดจากคอเลสเตอรอล ถือว่าเป็นสาเหตุการเกิดที่พบเจอได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนโดยปกติจะเป็นคอเลสเตอรอลที่ตกค้างและอาจมีสารอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วย โดยคอเลสเตอรอลดังกล่าวนั้นหลงเหลือจากการละลายของร่างกายจนตกตะกอนรวมกันเป็นก้อนนั่นเอง
  • เกิดจากบิลิรูบินหรือเม็ดสี สาเหตุมาจากบิลิรูบินในน้ำดีมีปริมาณมากจนเกินไป โดยสาเหตุที่ทำให้มีบิลิรูบินมากเกินไปมีหลายประการโดยส่วนมากจะเป็นภาวะที่มีผลต่อเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคตับแข็ง เป็นต้น
  • ของเสียในถุงน้ำดี ในกรณีเกิดจากการทำงานของถุงน้ำดีเองที่มีระบบการจัดการของเสียไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุให้น้ำดีมีความเข้มข้นจนก่อตัวเป็นก้อน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ด้วย ได้แก่

  • น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานทำให้มีคอเลสเตอรอลมากตามไปด้วย
  • พันธุกรรมหรือจากคนในครอบครัว
  • เกิดจากโรคอื่น ๆ หรือพฤติกรรมที่มีผลต่อการบีบตัวของนิ่วในถุงน้ำดี เช่น โรคเบาหวาน หรือการลดน้ำหนักตัวจนมากเกินไป เป็นต้น
  • การใช้ยาที่มีผลให้คอเลสเตอรอลมีจำนวนมากขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิด ยาลดคอเลสเตอรอล เป็นต้น

 

อาการนิ่วในถุงน้ำดี

 

โดยปกติแล้วมักจะไม่แสดงอาการที่รุนแรงออกมา อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถพบก้อนนิ่วได้จากการตรวจสุขภาพ และหากมีอาการสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดตามลำตัว เช่น ช่องท้อง ไหล่ หลัง เป็นต้น
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • มีผลกับระบบย่อยอาหารอย่างเห็นได้ชัด เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องหลังทานอาหาร เป็นต้น

อาการปวดต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานั้นจะปวดเพียงชั่วคราวจนถึงหลักชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากมีอาการอื่นแทรกซ้อนควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เช่น ผิวเหลือง มีอาการหนาวสั่น ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นต้น

 

 

ภาวะแทรกซ้อนจากนิ่ว

 

หากปล่อยให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดก้อนนิ่วในท่อถุงน้ำดีทำให้เป็นไข้ ตาเหลือง ตัวเหลือง และเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ตับอ่อนอักเสบ เกิดการปวดท้องรุนแรงเพราะก้อนนิ่วเคลื่อนตัวไปอุดตันท่อที่ตับอ่อน
  • มะเร็งท่อน้ำดี แม้จะพบได้น้อยมาก แต่โรคนี้มักจะพบได้ในผู้ที่เคยป่วยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมาก่อน
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด หากถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และตับอ่อนเกิดมีปัญหาจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

 

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี

 

การรักษานิ่วในถุงน้ำดีสำหรับรายที่ไม่มีอาการจะไม่มีการรักษาใด ๆ เพียงแต่ต้องหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเช็กดูเรื่อย ๆ ว่าก้อนนิ่วนั้นจะไม่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ส่วนการรักษาสำหรับรายที่แสดงอาการส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งทางโรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องที่ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว และเจ็บน้อยกว่า

 

การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

 

  • รับประทานอาหารตรงเวลา ไม่ควรข้ามมื้ออาหาร หรืองดอาหาร
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีเส้นใยต่ำ
  • สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างหักโหมเพราะจะทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น

 

เทคโนโลยีทางการแพทย์

 

  • ผ่าตัดผ่านกล้อง ปัจจุบันในวงการแพทย์ได้มีการพัฒนาในเรื่องการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพ และเจ็บน้อยลง ทางโรงพยาบาลเพชรเวชเห็นความสำคัญในจุดนี้เช่นกัน เราจึงนำการ "ผ่าตัดส่องกล้อง" เข้ามาประกอบการผ่าตัด กับห้องผ่าตัดมาตรฐานระดับสากลจาก Hospital Accreditation (HA) ซึ่งการผ่าตัดรูปแบบนี้จะเป็นการผ่าตัดแผลเล็ก และปฏิบัติผ่านกล้องชั้นสูง (Advance Minimally) อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า เจ็บน้อยกว่า ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด


 

แพ็กเกจเกี่ยวข้อ

 

นิ่วในถุงน้ำดี แม้จะดูไม่อันตรายแต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้นานอาจจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายของเราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่อาจซ่อนอยู่ในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้

 

บทความที่แนะนำ