ท่อเก็บอสุจิอักเสบ ภาวะผิดปกติที่กระทบระบบสืบพันธุ์
ท่อเก็บอสุจิอักเสบ ภาวะผิดปกติที่กระทบระบบสืบพันธุ์

เก็บอสุจิอักเสบ (Epididymitis) คือ โรคที่มักจะมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้ท่อหรือถุงเก็บอสุจิอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย มีภาวะผิดปกติขณะปัสสาวะ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธ์ุเพศชาย มีหน้าที่เก็บอสุจิที่ต่อจากอัณฑะ ก่อนจะเคลื่อนตัวปลดปล่อยออกมาเมื่อถึงจุดสุดยอดหากมีกิจกรรมทางเพศ

 

 

สาเหตุท่อเก็บอสุจิอักเสบ

 

ติดเชื้อต่าง ๆ ที่แพร่กระจายมายังอวัยวะนี้ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • E.coli (Escherichia Coli)

 

  • Pseudomonas

 

  • Proteus

 

  • Enterobacter

 

  • Klebsiella

 

  • Staphylococcus

 

  • Mycobacterium tuberculosis

 

โรคหรือภาวะความผิดปกติ เช่น

 

  • หนองใน

 

  • วัณโรค

 

  • ผลข้างเคียงจากการรักษา

 

  • บาดเจ็บบริเวณขาหนีบ

 

  • ทำหมัน

 

  • ใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

 

หนองใน

 

 

อาการท่อเก็บอสุจิอักเสบอักเสบ

 

  • บริเวณอัณฑะ เจ็บ ปวด บวม แดง ร้อนผ่าว

 

  • ปวดท้องน้อยร่วมด้วย

 

  • โลหิตไหลพร้อมปัสสาวะ

 

  • เมื่อหลั่งอสุจิจะรู้สึกเจ็บ

 

  • มีหนองติดอยู่ปลายอวัยวะเพศ

 

ความผิดปกติร่วมอื่น ได้แก่

 

  • เป็นไข้

 

  • คลื่นไส้ อาจอาเจียน

 

  • อ่อนเพลีย

 

 

ปวดอัณฑะ

 

 

การวินิจฉัยท่อเก็บอสุจิอักเสบอักเสบ

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามอาการและระยะเวลาความผิดปกติ ว่ามีการได้รับเชื้อโรคหรือไม่ รวมทั้งในเรื่องของเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัว ใช้ยาอะไรบ้าง หลังจากนั้นจะคลำตรวจดูอัณฑะ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หากสงสัยว่าต้นเหตุมาจากโรคต่อมลูกหมาก จากนั้นจะตรวจละเอียดเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

 

ตรวจโลหิต

 

  • ดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)

 

  • หาสารภูมิต้านทานในร่างกาย

 

ตรวจปัสสาวะ

 

  • เพาะเชื้อจากปัสสาวะและสารคัดหลั่ง

 

ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์

 

  • อัลตราซาวด์ลูกอัณฑะ

 

 

ตรวจ CBC

 

 

การรักษาท่อเก็บอสุจิอักเสบอักเสบ

 

รักษาตามสาเหตุความผิดปกติ

 

  • ใช้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย

 

  • หยุดยาที่รับประทานเป็นประจำ

 

  • ผ่าตัดอัณฑะเพื่อระบายหนองออก

 

รักษาแบบประคับประคอง

 

  • รับประทานยาแก้ปวด หรือยาลดไข้ Paracetamol รวมทั้งกลุ่ม NSAIDs

 

  • ประคบเย็น

 

  • ไม่ควรเดินในระยะทางไกล ๆ หรือนั่นนานจนเกินไป

 

  • งดกิจกรรมทางเพศ

 

 

 ถุงยางอนามัย

 

 

การป้องกันท่อเก็บอสุจิอักเสบอักเสบ

 

  • มีกิจกรรมทางเพศอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น ใส่ถุงยางอนามัย

 

  • เลือกกางเกงชั้นในที่มีขนาดพอดี ไม่รัดจนเกินไป ระบายอากาศสะดวก

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีสติ หรือไม่อยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่สมรส

 

  • ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

 

  • เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี

 

 

แม้ว่าโรงพยาบาลเพชรเวชจะยังไม่มีศูนย์บริการปรึกษาสุขภาพทางเพศของผู้ชายมีแต่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยได้ ท่านใดมีอาการผิดปกติตามที่ได้กล่าวมา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะความรุนแรงของโรคนี้ส่งผลถึงการสืบพันธุ์ หากในอนาคตต้องการมีบุตร

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2566