การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร

 

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร หรือ Transesophageal Echocardiography คือ การตรวจชนิดพิเศษทางระบบหัวใจ โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจที่มีความถี่สูง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งสามารถประเมินโครงสร้างของหัวใจแบบละเอียด และชัดเจน

 

 

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร มีประโยชน์อย่างไร 

 

 

  • ตรวจเพิ่มเติมในกรณีเมื่อการวินิจฉัยผู้ป่วยที่ตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางทรวงอกไม่ชัดเจน 

 

 

  • ตรวจการทำงานของลิ้นหัวใจเทียม 

 

 

  • ตรวจเพื่อหาลิ่มเลือดหัวใจ

 

 

  • ตรวจเนื้องอก หรือก้อนบริเวณหัวใจ 

 

 

  • ตรวจดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

 

 

  • ตรวจพังผืด ในผู้ป่วยรายที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ 

 

 

  • โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณทรวงอก

 

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร

 

 

 

 

  • งดทานอาหาร และน้ำก่อนเข้ารับการตรวจ 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการอาเจียน และสำลักขณะตรวจ

 

 

  • งดทานยาละลายลิ่มเลือด 3-5 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจ

 

 

  • หากผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยา หรือมีโรคประจำตัว ที่เป็นข้อห้ามในการตรวจ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

 

 

  • ถ้ากรณีที่เกิดฟันโยกคลอน จากการถอดฟันปลอม ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

 

 

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการตรวจ 

 

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

 

 

 

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือมีเลือดออก 

 

 

 

 

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดอาหารอักเสบ มีเนื้องอก หรือการอุดตัน 


 

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร มีวิธีการตรวจอย่างไร 

 

 

  • แพทย์จะอธิบายขั้นตอนการตรวจอย่างละเอียด ก่อนที่จะทำการใส่สายตรวจให้ผู้ป่วย

 

 

  • ให้ผู้ป่วยอม และพ่นยาชา เพื่อป้องกันอาการเจ็บคอก่อนใส่สาย

 

 

  • ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย และก้มหน้าขณะตรวจ เพื่อให้น้ำลายไหลออกบริเวณข้างแก้ม

 

 

  • แพทย์จะสอดสายตรวจผ่านทางบริเวณช่องปาก เข้าสู่หลอดอาหาร และปลายสายจะอยู่บริเวณที่ด้านหลังของหัวใจ โดยแพทย์อาจจะขอความร่วมมือให้ผู้ป่วยช่วยกลืนสายขณะสอดใส่ 

 

 

  • การตรวจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-20 นาที โดยตลอดการตรวจจะมีแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด

 

 

  • ขณะที่ตรวจให้ผู้ป่วยหายใจทางจมูก ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ให้รับยานอนหลับก่อนตรวจ


 

ภาวะแทรกซ้อนหลังตรวจ

 

 

 

 

  • เกิดอาการสำลัก และฟันอาจจะหัก หรือโยกได้ 

 

 

  • บางรายอาจจะเกิดหลอดอาหารเป็นแผล ทะลุ หรืออักเสบ 

 

 

  • มีเลือดออกบริเวณกระเพาะ และหลอดอาหาร 

 

 

ข้อปฏิบัติหลังการตรวจ

 

 

 

 

  • กลั้วคอ และบ้วนปาก ด้วยน้ำสะอาด 1 แก้ว 

 

 

  • งดน้ำ และอาหารเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าอาการชาที่ลำคอจะหาย ซึ่งยาชาอาจจะออกฤทธิ์ 30-45 นาที

 

 

  • ถ้าไม่มีอาการสำลัก สามารถรับประทานอาหารเหลวชนิดเย็น เช่น นม แล้วตามด้วยอาหารอ่อนได้ 

 

 

  • ในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณลำคอ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง

 

 

 

 

การแจ้งผลการตรวจ

 

 

หลังจากทำการตรวจเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแจ้งผล และแนวทางการรักษาให้ผู้ป่วยทราบ ถ้าเกิดในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจตีบ หรือร่างกายของผู้ป่วยไม่ได้เข้าข่ายข้อห้ามใด แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจ และให้นอนที่โรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษา โดยการใส่บอลลูนขยายลิ้นหัวใจ 

 

 

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ป่วย โดยตลอดการรักษาจะมีแพทย์คอยประกบ และเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยท่านใดต้องการที่จะรักษาด้วยวิธีนี้ ควรอ่านข้อปฏิบัติ และข้อห้ามให้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

ECHO เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Update ปี 2567)