มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียเต้านม
มะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียเต้านม

จากมะเร็งทั้งหมดหลายชนิดมะเร็งเต้านมถือเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเป็นแบบนี้เราไม่สามารถมองข้ามมะเร็งชนิดนี้ได้ วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักโรคร้ายนี้กัน 

 

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

 

โดยปกติมักเกิดขึ้นในเพศหญิงเนื่องจากเพศหญิงมีพฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สุ่มเสี่ยงโรคนี้อาจรวมไปถึงผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตรด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น พันธุกรรม หรือระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้จึงมีด้วยกันหลายทางนั่นเอง โดยเมื่อเนื้อเยื่อในเต้านมเกิดการติดเชื้อเป็นเชื้อมะเร็งจนกลายเป็นเนื้อร้ายได้ในที่สุดนอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อร้ายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่อวัยวะที่เกิดเชื้อมะเร็งเต้านมมักเกิดบริเวณท่อน้ำนมและต่อมผลิตน้ำนมมากกว่าจุดอื่น

 

อาการของมะเร็งเต้านม

 

ในระยะแรกของมะเร็งทุกชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านมนั้นมักไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เราสังเกตเห็น แต่เราสามารถตรวจได้ด้วยการคลำหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรืออยู่ใกล้รักแร้ รวมไปถึงการเกิดความผิดปกติกับเต้านม เช่น มีของเหลวสีเหลืองหรือสีเหมือนเลือดไหลออกมาจากเต้า มะเร็งเต้านมมีด้วยกัน 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 เซลล์เริ่มผิดปกติ หากมีก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยเชื้อมะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังสามารถแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ คือ ต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ กับบริเวณรักแร้
  • ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งที่เต้านมขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง และขนาดของก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร เชื้อมะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าระยะที่ 2
  • ระยะที่ 4 ในระยะนี้เชื้อจะสามารถแพร่เข้าสู่เลือดได้แล้ว ดังนั้นเชื้อมะเร็งจะสามารถแพร่ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด กระดูก ตับ เป็นต้น ในระยะจะไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้แล้ว

 

ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งเต้านม

 

ผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากการรักษาโรคร้ายนี้เนื่องจากด้วยวิธีรักษาจะมีผลต่อร่างกายด้วย เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย อารมณ์ไม่คงที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมด้วย เนื่องจากต่อมดังกล่าวมีการอุดตัน และจากที่กล่าวไปแล้วว่าเชื้อมะเร็งสามารถแพร่ไปยังอวัยวะในร่างกายได้มากผ่านกระแสเลือดด้วย

 

การรักษามะเร็งเต้านม

 

การรักษาจะเป็นไปตามระยะของโรค โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาได้ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะเริ่มต้น โดยแพทย์จะพิจารณาอย่างละเอียดว่าควรจะผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือผ่าตัดแบบสงวนเต้า โดยจะตัดออกเฉพาะบริเวณที่เป็นมะเร็งเท่านั้น
  • การฉายแสง เป็นการฉากรังสีเข้าไปบริเวณก้อนมะเร็งเพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งเติบโต มักจะเป็นการรักษาที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัดแบบสงวนเต้าในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองด้วย
  • การใช้เคมีบำบัด หรือคีโมเป็นการบำบัดด้วยยาต้านฮอร์โมน เป็นการให้ยาทำลายเซลล์มะเร็ง แต่วิธีการนี้จะทำให้อวัยวะส่วนอื่นได้รับผลกระทบไปด้วยส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และผมร่วงได้

 

การป้องกันมะเร็งเต้านม

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • การให้นมบุตรด้วยตัวเองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้
  • และอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้คือการสังเกตอาการ หรือการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองนั่นเอง

 

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

 

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง หรือการคลำเต้านมมีวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

  • การสังเกตตัวเองหน้ากระจก เป็นการตรวจดูลักษณะ ขนาด รูปร่าง และสีผิวของเต้านมทั้งสองข้างว่ามีความผิดปกติหรือไม่ วิธีนี้ควรสังเกตเพื่อเปรียบเทียบอาการนานนับเดือน
  • ท่านอนราบ เป็นวิธีที่ต้องนอนราบด้วยท่าทางสบาย แล้วยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้น จากนั้นใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีกข้างคลำให้ทั่วเต้านมและบริเวณรักแร้ แต่ไม่ควรบีบเนื้อเต้านมเพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าคลำเจอก้อนเนื้อ เมื่อเสร็จแล้วให้เปลี่ยนไปคลำอีกข้าง
  • ตรวจขณะอาบน้ำ สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กให้ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำเหมือนท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ให้ใช้มือข้างหนึ่งตรวจคลำจากด้านล่าง และใช้มืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำจากทางด้านบน

 

มะเร็งเต้านมไม่ได้มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองจึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายได้วิธีหนึ่ง นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลเพชรเวชยังมีบริการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมที่มีความทันสมัยและแม่นยำ พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพแก่ผู้หญิงอีกด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

แพ็กเกจที่แนะนำ

 

 

____________________________

 

ติดต่อแผนกสูตินรีเวช

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-19.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 18.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390