Echocardiogram
Echocardiogram

ECHO คืออะไร 

 

ECHO คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัย โดยปล่อยคลื่นเสียงจากหัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟนผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเกิดการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ 

 

ชนิดของเครื่อง ECHO  

 

  • Transthoracic Echocardiogram (TTE) เป็นการทำ Echocardiogram ที่นิยมมากที่สุดเพราะทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ มีวิธีการตรวจคือใช้หัวเครื่องตรวจผ่านผนังทรวงอกเป็นอุปกรณ์ไม่มีความแหลมกดบริเวณหน้าอกและขยับไปมาตามตำแหน่งที่ต้องการให้เห็นภาพ

  • Transesophageal Echocardiogram เป็นการส่องกล้องผ่านทางเดินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหารอยู่ด้านหลังของหัวใจ ในระหว่างการตรวจเครื่อง ECHO จะส่งคลื่นเสียงจะสะท้อนเป็นภาพของหัวใจขณะปั๊มเลือดผ่านลิ้นหัวใจซึ่งทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ 

 

ประโยชน์ของการตรวจด้วยเครื่อง ECHO

 

การใช้เครื่อง ECHO นี้ แพทย์สามารถดูขนาดของห้องหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อ การทำงานของหัวใจ รวมถึงการวินิจฉัยโรค ความรุนแรงของโรค ตลอดจนการติดตามผลการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หอบ ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการทำงานของลิ้นหัวใจ การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจ เป็นต้น

 

Echocardiogram

 

การเตรียมความพร้อมในการตรวจ

 

การรักษาด้วยเครื่อง ECHO มีความปลอดภัยสูงจึงไม่ต้องงดน้ำและอาหาร งดอาหารแต่ในกรณีที่มียารับประทานเท่านั้น โดยก่อนตรวจเจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนเสื้อ หากเป็นผู้หญิงต้องถอดเสื้อชั้นในออกก่อน โดยเจ้าหน้าที่จะทำการติดอุปกรณ์ เพื่อเฝ้าสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 20-40 นาที หากผู้ป่วยเป็นเบาหวานและใช้อินซูลินอยู่ ให้ใช้อินซูลินครึ่งหนึ่งของปกติและให้งดอาหารเช้า เว้นแต่แพทย์จะสั่งไม่ให้งด หากผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานยารักษาอยู่ให้งดยาในตอนเช้า

 

ข้อจำกัดในการตรวจด้วยเครื่อง ECHO

 

  • ไม่สามารถเห็นเส้นเลือดหัวใจและการไหลเวียนของเลือดเพราะเห็นเพียงแค่โครงสร้างของหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคถุงลมโป่งพองจะไม่สามารถเห็นภาพได้ชัด
  • การสอดกล้องลงสู่หลอดอาหารอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณลำคอได้จึงควรมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย

 

____________________________________


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

Line : @petcharavej

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

EST ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย

 

 

ตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร