คลุ้มคลั่ง ความผิดปกติทางจิตที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
คลุ้มคลั่ง ความผิดปกติทางจิตที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

คลุ้มคลั่ง (Mania) หมายถึง การแสดงอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรงมากจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ในทางการแพทย์ถือว่าป่วยจิตเวช  มีความคิด สติการรับรู้ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ส่งผลกระทบเกิดอันตรายต่อบุคคลรอบข้างผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อาวุธทำร้ายร่างกาย ก่ออาชญากรรม ซึ่งบุคคลธรรมดาอย่างเรา ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม จะต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยงคนคลุ้มคลั่ง  

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง

 

สารเคมีสื่อประสาทในสมองถูกรบกวน จึงมีการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลไปยังอารมณ์ การแสดงออก ความคิด การรับรู้ และการดำเนินกิจกรรมในชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 

  • การใช้สารเสพติด

 

  • กรรมพันธุ์

 

  • การติดเชื้อ

 

  • ความกดดัน

 

  • เครียด

 

  • อุบัติเหตุทางสมอง

 

 

เครียด

 

 

คนคลุ้มคลั่งลักษณะอาการเป็นอย่างไร

 

มีความเครียด เคร่งขรึม

 

  • ประสาทหลอน

 

  • หูแว่ว

 

  • เห็นภาพที่ไม่เป็นความจริง เช่น แมลงไต่ตามอวัยวะบนร่างกาย

 

  • ยิ้มไปเรื่อย

 

  • พูดคนเดียวตลอด

 

  • ไม่ค่อยเข้าสังคม แปลกแยก

 

  • อาละวาด

 

  • ด่าทอโดยใช้คำหยาบคายอย่างเกรี้ยวกราด

 

  • ทุบตี ทำร้ายตนเอง หรือบุคคลอื่น ๆ

 

 

ทำร้ายร่างกาย

 

 

รักษาอาการคลุ้มคลั่ง

 

  • ใช้ยาทางจิตเวช

 

  • จิตบำบัด โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของจิตแพทย์และเจ้าหน้าที่

 

  • ได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัว คอยพูดคุย ให้คำแนะนำ เป็นที่พึ่งให้ผู้ป่วย เพราะถ้าหากในช่วงระหว่างการรักษา แล้วรู้สึกเฉื่อยช้า ซึมเศร้า ท้อแท้ หมดกำลังใจ จะทำให้การตอบสนองของยามีประสิทธิภาพลดลง

 

  • ฝึกทักษะการเข้าสังคม โดยจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ป่วยให้เกิดการพูดคุย สร้างกำลังใจแก่กัน

 

  • เรียนรู้ทักษะอาชีพ เล่นกีฬา เพื่อให้เข้าใจความหมายของชีวิต ดีกว่าอยู่ไปวัน ๆ

 

 

ไสยศาสตร์

 

 

คลุ้มคลั่งกับไสยศาสตร์

 

แม้ว่าโลกจะมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากมาย แต่ความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ ในสังคมไทย และยังไปเชื่อมโยงกับอาการคลุ้มคลั่งอีก โดยเฉพาะญาติผู้ป่วยที่ขาดความรู้ความเข้าใจทางจิตเวช อาจใช้ความรุนแรงโดยการจับล่ามโซ่ นำไปหาผู้นำทางความเชื่ออย่างหมอผี ร่างทรงองค์เทพต่าง ๆ ทำพิธีการรดน้ำมนต์ ปัดเป่าวิญญาณ สัมภเวสี สิ่งชั่วร้ายให้ออกไป หากเลือกวิธีแบบนี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเองให้มีอาการรุนแรงขึ้น เมื่อมาโรงพยาบาลก็จะยากในการรักษา แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาตามหัวข้อข้างต้นแล้ว จิตแพทย์วินิจฉัยว่ามีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ก็สามารถเข้าร่วมพิธีตามความเชื่อได้ เพื่อเป็นกำลังใจในการกลับมาดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันร่วมกับผู้คนในชีวิตประจำวันเหมือนเดิม ทั้งนี้มีข้อควรระวัง ได้แก่

 

  • หลีกเลี่ยงพิธีกรรมที่ใช้อุปกรณ์อันตรายต่อร่างกาย เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น ของมีคม ไม้เรียวที่ทำมาจากหวาย

 

  • ไม่ควรบริโภคอาหาร น้ำดื่ม ยา สมุนไพร หรืออะไรก็ตามในพิธีที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้

 

 

เมื่อมีโอกาสพบเจอผู้ที่เคยคลุ้มคลั่งและอยู่ในช่วงการรักษา ควรพูดคุยให้กำลังใจ ไม่สร้างความกดดัน ใช้ถ้อยคำรุนแรง แสดงความหวาดกลัว หรือท่าทีที่ทำให้เขารู้สึกตัวเองผิดแปลกกับคนอื่นในสังคม เพราะอาจทำให้มีอาการที่แย่ลงกว่าเดิม ทั้งนี้เวลาเดินทางออกข้างนอกบ้านควรสังเกตบุคคลรอบข้าง หากพบว่ามีความผิดปกติเข้าข่ายคลุ้มคลั่ง โดยเฉพาะถ้าเขามีอาวุธ  ควรอยู่ห่าง ๆ และโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่