Brain Atrophy
Brain Atrophy

โรคสมองฝ่อ (Brain Atrophy) เป็นโรคความเสี่ยงสูงในผู้สูงอายุเนื่องจากเซลล์สมองจะเสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้การไม่ดูแลตนเองยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงโรคนี้ด้วย อาการของโรคนี้สังเกตได้จากการหลงลืมในผู้สูงอายุ หากต้องการลดความเสี่ยงโรคร้ายนี้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพและทำกิจกรรมที่เสริมสร้างความคิดเพื่อพัฒนาการทำงานของสมอง

 

สมองฝ่อเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

โรคสมองฝ่อพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุ 75 ปีขึ้นไป เกิดจากปริมาณเซลล์เนื้อสมองลดลงถือเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยและความเสี่ยงของโรคสมองฝ่ออยู่อีกหลายข้อ ได้แก่

 

  • เกิดจากพันธุกรรม : ทำให้บางคนเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นตอนอายุค่อนข้างมาก
  • เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน : การทานอาหารในปริมาณมากเกินไป การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์
  • เกิดจากปัจจัยอื่น : โรคร้ายบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อสมอง การรับสารพิษ และการขาดออกซิเจน

 

หากเกิดโรคสมองฝ่อตรงจุดที่ส่งผลต่อการควบคุมอวัยวะในร่างกายจะส่งผลต่ออวัยวะนั้นโดยตรง นอกจากนี้อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้หากส่วนของความทรงจำเกิดการฝ่อ

 

ไม่ใช้สมองจะทำให้สมองฝ่อหรือไม่

 

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ไม่ใช้สมอง ระวังนะสมองจะฝ่อ” การไม่ใช้สมองไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้สำหรับคนทั่วไปแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอายุ 75 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมของสมองไปตามอายุอาจมีอาการหลงลืมไปบ้างการฝึกใช้สมองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองฝ่อได้

 

สมองฝ่อ

 

อาการของโรคสมองฝ่อ

 

  • เกิดอาการหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือสมองเสื่อม
  • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถดูแลตนเองได้เหมือนเมื่อก่อน
  • ผู้ป่วยโรคสมองฝ่อบางรายอาจเกร็งกล้ามเนื้อแขนและขา

 

รักษาโรคสมองฝ่ออย่างไร

 

การรักษาสามารถรักษาได้ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงปรับสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะและสะดวกกับผู้ป่วยโรคนี้มากยิ่งขึ้น หากเป็นโรคร้ายนี้จากการเสื่อมสภาพให้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นในทุกด้านเพื่อชะลอการเสื่อมสภาพ

 

การป้องกันโรคสมองฝ่อ

 

  • ทำกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาหรือใช้ความคิด เช่น เล่นหมากรุก ทายปัญหา และคิดเลข เป็นต้น
  • หมั่นดูแลสุขภาพทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควรตรวจสุขภาพเพื่อติดตามสภาวะของร่างกายหรือค้นหาความเสี่ยงโรคสมองฝ่อ

 

ความโชคร้ายคือโรคนี้สามารถเกิดได้จากการเสื่อมสภาพทำให้ยากต่อการป้องกันอย่างมาก แต่หากดูแลผู้ป่วยอย่างดีทั้งร่างกาย และจิตใจจะสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของโรคสมองฝ่อ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไปได้

 

____________________________________

 


ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI