รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดต่อมทอนซิล
รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดต่อมทอนซิล

Q : สนใจแพคเกจผ่าตัดต่อมทอนซิลต้องทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากสนใจแพคเกจผ่าตัดทอนซิล สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ LINE คลิก เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงแนะนำการเข้ารับบริการตั้งแต่พบแพทย์จนถึงการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

 

 

 

Q : แพทย์ผ่าตัดต่อมทอนซิล มีท่านใดบ้าง และออกตรวจในวันและเวลาใดบ้าง

 

 

A1 : แนะนำแพทย์เฉพาะทาง  คือ พญ.นริศตา พิทยราชศักดิ์ จะอออกตรวจในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลาออกตรวจ 13.00-16.00 น. (ยกเว้นวันอังคาร) (เวลาอาจมีการปรับเปลี่ยน)

 

A2 : สามารถนัดหมายหรือตรวจสอบคิวแพทย์ได้ที่ LINE คลิก

 

 

 

Q : แพคเกจผ่าตัดต่อมทอนซิล รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วหรือไม่

 

 

A : ก่อนเข้าแพคเกจจะมีค่าพบแพทย์, ค่าตรวจวินิจฉัยเพื่อผ่าตัดและกรณีวินิจฉัยต้องเข้ารับการผ่าตัดจะมีค่าตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด ทั้งนี้หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าแพคเกจได้ จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

 

 

Q : ก่อนเข้าแพคเกจจะต้องพบแพทย์จะมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง

 

 

A : ค่าพบแพทย์ก่อนผ่าตัดประมาณ 700 บาทขึ้นไป ค่าบริการรพ. 200 บาท (ไม่รวมกรณีส่งตรวจอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม) และมีค่าตรวจร่างกายก่อนผ่าตัดประมาณ 2,000-5,000 บาท

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นควรทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น สามารถนำผลตรวจทั้งหมดมาประกอบพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติมได้เลย หากแพทย์พิจารณาจากผลเดิมได้ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องตรวจรายการอื่นและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนผ่าตัด

 

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว แต่เนื่องจากต้องเดินทางไกล และต้องการทราบผลเบื้องต้นจะผ่าตัดได้หรือไม่ ควรทำอย่างไร

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น และต้องการทราบผลการผ่าตัดเบื้องต้น สามารถส่งให้ทางโรงพยาบาลเพื่อประสานพยาบาลและแพทย์ประเมินเบื้องต้นก่อนได้ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดหมายมาพบแพทย์ตามขั้นตอนอีกครั้ง

 

 

 

Q : พบแพทย์แล้วสามารถผ่าตัดได้เลยหรือไม่

 

 

A : ในกรณีฉุกเฉิน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าคนไข้ต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาช่วงเวลาผ่าตัดอีกครั้ง ส่วนในกรณีไม่ฉุกเฉินแพทย์จะนัดหมายอีกครั้งโดยไม่เกิน 1 สัปดาห์ (ทั้งนี้อยู่ที่ความสะดวกของผู้ป่วยและคิวแพทย์ผ่าตัดด้วย)

 

 

 

Q : มีประกันชีวิตสามารถใช้ในแพคเกจนี้ได้หรือไม่

 

 

A : หากมีประกันชีวิตและมีการคุ้มครองการผ่าตัดสามารถเข้าผ่าตัดแพคเกจนี้ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบความคุ้มครองในวันที่พบแพทย์เพื่อประเมินการผ่าตัดจะมีการเช็กความคุ้มครองอีกครั้ง

 

 

 

Q : สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่

 

 

A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลังจากแพทย์วินิจฉัยจะส่งต่อแพทย์เฉพาะอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการผ่าตัด

 

 

 

Q : หากมีสิทธิประกันสังคมแต่ไม่สะดวกรอผ่าตัด และประสงค์จะชำระค่ารักษาตามแพคเกจได้หรือไม่

 

 

A : หากผู้ป่วยประสงค์ผ่าตัดโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับบริการได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาอีกครั้ง และผู้ป่วยจะต้องสละสิทธิ์โครงการประกันสังคมและยินยอมการรักษาค่าพยาบาลตามเงื่อนไขของโรงพยาบาลที่กำหนดก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

 

 

Q : เมื่อแพทย์วินิจฉัยผ่าตัดทอนซิล จะมีขั้นตอนการผ่าตัดอย่างไร

 

 

A : การผ่าตัดต่อมทอนซิลเป็นการผ่าตัดผ่านทางช่องปาก โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดโดยใส่เครื่องมือเข้าไปทางช่องปาก ไปยังต่อมทอนซิล การผ่าตัดลักษณะนี้ผู้ป่วยจึงไม่มีบาดแผลใด ๆ ที่มองเห็นได้จากภายนอก

 

 

 

Q : ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดเท่าใด

 

 

A : ผ่าตัดใช้ระยะเวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

 

 

 

Q : ต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากสาเหตุใด

 

 

A : ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสและสาเหตุอื่นคือการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดต่อ เกิดจากการหายใจ ไอ จาม โดยอาจทำให้มีอาการหลักคือ ต่อมทอนซิลบวมแดง เจ็บคอ กลืนลำบาก มีไข้ เสียงเปลี่ยน และมีกลิ่นปาก

 

 

 

Q : หากผ่าตัดทอนซิลแล้ว อาการนอนกรนจะหายหรือไม่

 

 

A : ผู้ป่วยในรายที่มีต่อมทอนซิลโตมากจนอุดกั้นทางเดินหายใจ การผ่าตัดออกอาจจะทำให้อาการนอนกรนหมดไป ทั้งนี้ต้องให้แพทย์วินิจฉัยอีกครั้งว่าอาการนอนกรนเกิดจากต่อมทอนซิลหรือไม่

 

 

 

Q : ผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้วจะมีผลเสีย หรือผลกระทบเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหรือไม่

 

 

A : การผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือช่องปากลดลงแต่อย่างใด เมื่อผ่าตัดต่อมทอนซิล และแผลหายสนิทดี ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ในระหว่างพักฟื้นนั้นจำเป็นต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ

 

 

 

Q : อาการที่อาจพบได้หลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

 

 

A : โดยในช่วง 1-2 วันแรกที่กลับไปพักฟื้น ผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก รู้สึกอึดอัด อาจทำให้เสียงพูดเปลี่ยนชั่วคราว แนะนำให้นอนยกศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน อมและประคบน้ำแข็งบ่อย ๆ ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ทำผ่าตัด หากอาการหายใจไม่สะดวกรุนแรงขึ้น และกินระยะเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

 

 

ต่อมทอนซิลไม่ได้ชิลอย่างที่คิด

 

 

ตัดต่อมทอนซิลอันตรายหรือไม่