รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง
รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง

 

Q : สนใจแพ็กเกจผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง

 

 

A 1 : ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง โดยการเจาะรูขนาดเล็ก ๆ บริเวณผนังหน้าท้องเพื่อเข้าซ่อมไส้เลื่อนจากด้านใน และเสริมแผ่นความแข็งแรงบริเวณที่เป็น โดยมากจะมีแผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 ซม. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 ซม. จากนั้นจะทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้อง ซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ในรายที่เป็นไส้เลื่อนขาหนีบทั้งสองข้าง ผ่าตัดใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชม.

 

A 2 : การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิดแผล จะเข้าไปผูกตัดถุงที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงานเดินตัวตรงตามปกติได้ช้า ผ่าตัดใช้ระยะเวลาประมาณ 1.30 ชม.

 

 

Q : แพทย์ผ่าตัดไส้เลื่อนมีท่านใดบ้าง และออกตรวจในวันใด

 

 

A : แนะนำแพทย์เฉพาะทาง คือ นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์ โดยจะออกตรวจวันจันทร์-วันศุกร์ ก่อนเข้ารับบริการท่านสามารถนัดหมาย และตรวจสอบคิวแพทย์กับเจ้าหน้าที่ได้ที่ LINE คลิก

 

 

Q : ก่อนเข้าแพ็กเกจและหลังผ่าตัด ผ่าตัดไส้เลื่อนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังนี้

 

 

A : 1.พบแพทย์เฉพาะทางก่อนเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ และร่างกายก่อนผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (กรณีไม่มีส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

A : 2.ตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด (Pre-op) หากผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 - 5,000 บาท กรณีผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

 

A : 3.ตรวจโควิด-19 Antigen Test (ATK) ก่อนเข้ารับบริการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท (กรณีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะต้องตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR 1,500 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่แพทย์พิจารณาส่งตรวจ)

 

A : 4.หลังผ่าตัดแพทย์จะนัดหมายติดตามอาการเพื่อดูถึงความผิดปกติ หรือดูแผลผ่าตัดว่าเกิดการติดเชื้อ มีผลข้างเคียงหรือไม่ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (ไม่รวมหากมียากลับบ้านเพิ่มและส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว ควรทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น สามารถนำผลตรวจทั้งหมดมาประกอบพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ หากแพทย์พิจารณาจากผลการตรวจเดิมได้ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องตรวจรายการอื่นและอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนผ่าตัด

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว แต่เนื่องจากต้องเดินทางไกล และต้องการทราบผลเบื้องต้นควรทำอย่างไร

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น และต้องการทราบผลการผ่าตัดเบื้องต้นสามารถส่งให้ทางโรงพยาบาลเพื่อประสานพยาบาลและแพทย์ประเมินเบื้องต้นก่อนได้ค่ะ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดหมายมาพบแพทย์ตามขั้นตอนอีกครั้งค่ะ

 

 

Q : มีประกันชีวิตสามารถใช้ในแพ็กเกจนี้ได้หรือไม่

 

 

A : หากมีประกันชีวิตและมีการคุ้มครองการผ่าตัดสามารถเข้าผ่าตัดแพคเกจนี้ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบความคุ้มครองหลังจากที่พบแพทย์เพื่อประเมินการผ่าตัด หากเจ้าหน้าที่ทราบความคุ้มครองแล้วจะติดต่อแจ้งรายละเอียดและยืนยันการผ่าตัดต่อไป

 

 

Q : สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่

 

 

A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถผ่าตัดได้ค่ะ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพ็กเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมเพื่อวินิจฉัย แล้วจะส่งต่อแพทย์เฉพาะทางอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการผ่าตัดค่ะ

 

 

Q : หากมีสิทธิประกันสังคมแต่ไม่สะดวกรอผ่าตัดจึงประสงค์จะชำระค่ารักษาตามแพ็กเกจได้หรือไม่

 

 

A : ไม่สามารถเข้าแพ็กเกจผ่าตัดดังกล่าวได้ค่ะ หากถือสิทธิประกันสังคมกับทางโรงพยาบาล จะต้องเข้ารักษาตามสิทธิประกันสังคมค่ะ



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง

 

 

ความแตกต่างระหว่างผ่าตัดธรรมดากับผ่าตัดแบบผ่านกล้อง (MIS)

 

 

รู้จักโรคไส้เลื่อน/ไม่ใส่กางเกงในคือสาเหตุของโรคไส้เลื่อนจริงหรือ?

 

 

ผ่าตัดไส้เลื่อน อันตรายไหมนะ

 

 

รวมเรื่องสงสัยโรคไส้เลื่อน