โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม พบบ่อยในผู้สูงอายุ อาการสมองเสื่อมจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้สูญเสียความทรงจำบางอย่าง แม้กระทั่งเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้รีโมททีวี จำสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ ดังนั้น หน้าที่ของลูกหลาน คือ ช่วยกันเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงอัลไซเมอร์ตามรูปภาพนี้ หรือทำกิจกรรมฝึกสมองกับท่านบ่อย ๆ เช่น เล่นหมากรุก ทายปัญหาง่าย ๆ หรือพาท่านไปพบปะเพื่อน ๆ ที่สมาคมผู้สูงอายุ
7 พฤติกรรมเสี่ยงอัลไซเมอร์ ได้แก่
1. ความเข้าใจภาษาถดถอย ใช้คำไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของง่าย ๆ ไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคัน ลืมว่าต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดคนเดียว
2. สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน มาถึงสถานที่นั้นได้อย่างไร
3. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น การเปลี่ยนช่องทีวี อาบน้ำ กินข้าว เปลี่ยนเสื้อผ้า
4. บกพร่องในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นออกจากกันได้ ไม่รู้จักวิธีการใช้สิ่งของ
5. บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยๆ
6. บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้
7. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI