Petcharavejhospital.com
Health promotion
Without extra charge

More

More
Doctor
Dr.CHAIYASIT SURIYANUSORN
Doctor profile
Dr.PEAR SUBSAMROUY
Doctor profile
Dr.PHUWASIT TRIJAKSUNG
Doctor profile
Dr.UTAIN BOONORANA
Doctor profile

More
Health articles
โรคกระเพาะอาหาร ความทรมานที่เกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะ
  โรคกระเพาะอาหาร (Gastritis) เกิดจากการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบเรื้อรัง สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตนเอง เพื่อไม่ให้โรคมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำที่สุดด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น     โรคกระเพาะอาหารเกิดจากสาเหตุใด ?         เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชอบทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การอดหรือทานอาหารไม่เป็นเวลา เป็นต้น   เกิดจากการทานยาบางประเภท เช่น แอสไพริน   เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร ทำให้มีการอักเสบของกระเพาะอาหารเกิดขึ้น   มีความเครียด หรืออยู่ในสภาวะวิตกกังวล     อาการของโรคกระเพาะอาหาร   มีอาการปวดท้องจุกแน่นเรื้อรัง แสบร้อนบริเวณกลางท้องหรือท้องส่วนบน    ท้องอืด   มีอาการปวดเป็นระยะ ในบางรายอาจจะมีอาการหลังจากหลับแล้ว   คลื่นไส้ อาเจียน   เรอเหม็นเปรี้ยว   ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน   ตาเหลือง         มีไข้สูงเรื้อรังตลอดเวลา   จากมีอาการแค่ปวดท้องแบบแสบ ๆ กลายเป็นปวดเกร็ง ปวดบีบ และปวดแบบรุนแรงขึ้น    น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ในระยะ 1 - 2 เดือน    เกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร     ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร   อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ หน้ามืด   เมื่อมีอาการปวดท้องส่วนบนอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน หน้าท้องแข็ง และเมื่อกดจะรู้สึกเจ็บมาก อาจเป็นสัญญาณของกระเพาะอาหารทะลุ   กระเพาะอาหารอุดตัน โดยมักมีอาการ เช่น น้ำหนักลดลง อาเจียน เบื่ออาหาร และอิ่มเร็ว เป็นต้น    โดยปกติแล้ว โรคกระเพาะอาหารทั่วไปมักจะไม่ส่งผลถึงขั้นทำให้มีเลือดออกในกระเพาะ แต่จะพบมากในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง     โรคกระเพาะอาหารอันตรายแค่ไหน ?   นอกจากอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือชื่อเต็ม เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) บริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหารซึ่งสามารถติดได้จากคนสู่คนด้วยการทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้ เป็นผลให้เยื่อบุกระเพาะเกิดอาการอักเสบจนกลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต     การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหาร    การส่องกล้องทางเดินอาหาร เพื่อตรวจดูกระเพาะและหาแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร จากนั้นอาจมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจหาเชื้อ   บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการทำอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์โดยคอมพิวเตอร์ ในผู้ป่วยที่เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน    หากผู้ป่วยไม่สามารถทำการส่องกล้องได้ อาจใช้วิธีการตรวจเลือดกับBreath Test      การรักษาโรคกระเพาะอาหาร   ส่วนหนึ่ง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค ร่วมกับการรักษาตามสาเหตุที่วินิจฉัยพบ ได้แก่         ปรับเปลี่ยนการทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารรสจัดหรือดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้ปวดท้อง   รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร ผู้ป่วยจะได้รับยาลดกรด กับยาปฏิชีวนะ   หากการปรับพฤติกรรมไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมเช่น การส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อรักษาตามสาเหตุ เป็นต้น    หากมีแผล สำไส้ทะลุ อุดตัน และมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาจใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษากระเพาะอาหาร      โรคกระเพาะ มีวิธีการป้องกันอย่างไร ?   รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และให้หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด เปรี้ยวจัด และอาหารมัน   หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน หรือยาแก้โรคกระดูกและข้อทุกชนิด   หากมีอาการจุกแน่นหลังรับประทานอาหาร ให้ปรับลดการรับประทานอาหาร โดยให้รับประทานน้อยลง แต่รับประทานให้บ่อยมื้อขึ้น และในแต่ละมื้อไม่ควรอิ่มมากจนเกินไป         หากมีความเครียด ควรหากิจกรรมอื่นทำเพื่อผ่อนคลาย   งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์    หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถ่ายเป็นสีดำ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ กลืนลำบาก เป็นต้น ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน      โรคกระเพาะอาหาร อาจจะไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้จนเกิดการเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ทางที่ดีหากมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อรักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองต่อไป   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้   อาการปวดท้องแต่ละแบบบ่งบอกอะไรบ้าง   แผลในกระเพาะอาหาร แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้
Read more
มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้และระวัง
  จากมะเร็งทั้งหมดที่มีมากมายหลายชนิด มะเร็งเต้านมถือว่าเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากที่สุดอันดับหนึ่ง เมื่อเป็นแบบนี้เราไม่สามารถมองข้ามมะเร็งชนิดนี้ได้ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคร้ายนี้กัน      สาเหตุของมะเร็งเต้านม         โดยปกติแล้ว มักเกิดขึ้นในเพศหญิงเนื่องจากมีพฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สุ่มเสี่ยงโรคนี้ ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตรด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น พันธุกรรม หรือระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้จึงมีด้วยกันหลายทาง โดยเมื่อเนื้อเยื่อในเต้านมเกิดการติดเชื้อ และกลายเป็นเชื้อมะเร็งจนพัฒนาเป็นเนื้อร้ายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อร้ายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้อีกด้วย ส่วนใหญ่อวัยวะที่เกิดเชื้อมะเร็งเต้านม มักเกิดบริเวณท่อน้ำนมและต่อมผลิตน้ำนมมากกว่าจุดอื่น     อาการของมะเร็งเต้านม   ในระยะแรกของมะเร็งทุกชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม มักไม่แสดงอาการใดออกมาให้เราสังเกตเห็น แต่เราสามารถตรวจได้ด้วยการคลำหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใกล้รักแร้ รวมไปถึงการเกิดความผิดปกติกับเต้านม เช่น มีของเหลวสีเหลืองหรือสีเหมือนเลือดไหลออกมาจากเต้า    มะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 4 ระยะ ดังนี้   ระยะที่ 1 เซลล์เริ่มผิดปกติ หากมีก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยเชื้อมะเร็งอาจยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น   ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังสามารถแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ คือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับบริเวณรักแร้   ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งที่เต้านมขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง และขนาดของก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยเชื้อมะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าระยะที่ 2   ระยะที่ 4 ในระยะนี้เชื้อจะสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้แล้ว ดังนั้นเชื้อมะเร็งจะสามารถแพร่ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด กระดูก ตับ เป็นต้น หากผู้ป่วยดำเนินมาถึงในระยะนี้ จะไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้แล้ว     ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากพบประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม         อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคนี้เพิ่มขึ้น   เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน   พบประวัติว่าเคยเป็นมะเร็งรังไข่    พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ได้รับรังสีในปริมาณมาก ออกกำลังกายน้อย โรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น     ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งเต้านม         ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงจากการรักษาโรคร้ายนี้ เนื่องด้วยวิธีรักษาจะมีผลต่อร่างกายด้วย เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย อารมณ์ไม่คงที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมเนื่องจากต่อมดังกล่าวมีการอุดตัน และจากที่กล่าวไปว่าเชื้อมะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะในร่างกายผ่านทางกระแสเลือดได้ด้วย     การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม   การตรวจเลือด   การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา   การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อถ่ายภาพเต้านม การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อถ่ายภาพเต้านม เป็นต้น   การตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจการลุกลามของมะเร็งที่ลามไปยังกระดูก การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น     การรักษามะเร็งเต้านม   การรักษาจะเป็นไปตามระยะของโรค โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาได้ดังนี้   การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะเริ่มต้น โดยแพทย์จะพิจารณาอย่างละเอียดว่าควรจะผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือผ่าตัดแบบสงวนเต้า โดยจะตัดออกเฉพาะบริเวณที่เป็นมะเร็งเท่านั้น   การฉายแสง เป็นการฉายรังสีเข้าไปบริเวณก้อนมะเร็งเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเติบโต มักจะเป็นการรักษาที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัดแบบสงวนเต้าในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองด้วย   การใช้เคมีบำบัด หรือคีโม เป็นการบำบัดด้วยยาต้านฮอร์โมน และการให้ยาทำลายเซลล์มะเร็ง แต่วิธีการนี้จะทำให้อวัยวะส่วนอื่นได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และผมร่วงได้     การป้องกันมะเร็งเต้านม   หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน         การให้นมบุตรด้วยตัวเองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้   อีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ คือการสังเกตอาการ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง การตรวจแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม เป็นต้น      การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง   การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง หรือการคลำเต้านม มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้   การสังเกตตัวเองหน้ากระจก เป็นการตรวจดูลักษณะ ขนาด รูปร่าง และสีผิวของเต้านมทั้งสองข้างว่ามีความผิดปกติหรือไม่ วิธีนี้ควรสังเกตเพื่อเปรียบเทียบอาการ แต่ต้องสังเกตเป็นระยะเวลานานนับเดือน   ท่านอนราบ เป็นวิธีที่ต้องนอนราบด้วยท่าทางสบาย แล้วยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้น จากนั้นใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีกข้างคลำให้ทั่วเต้านมและบริเวณรักแร้ แต่ไม่ควรบีบเนื้อเต้านมเพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าคลำเจอก้อนเนื้อ เมื่อเสร็จแล้วให้เปลี่ยนไปคลำอีกข้าง   ตรวจขณะอาบน้ำ สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กให้ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำเหมือนท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ ให้ใช้มือข้างหนึ่งตรวจคลำจากด้านล่าง และใช้มืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำจากทางด้านบน     มะเร็งเต้านมไม่ได้มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเอง จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายได้ในระดับหนึ่ง หากท่านสงสัย หรือลองสังเกตตนเองแล้วรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หากเกิดอะไรขึ้น จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    สูตินรีเวช   โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)   จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้   หินปูนในเต้านม ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
Read more
24
Emergency Service 24 Hours
58
IPD : Day
1500
Counter IPD/OPD : Month
46
Years of caring