Petcharavejhospital.com
Health promotion
Without extra charge

More

More
Doctor
Dr.CHAIYASIT SURIYANUSORN
Internal Medicine Clinic
Doctor profile
Dr.PEAR SUBSAMROUY
Obstetrics and Gynecologist Clinic
Doctor profile
Dr.PHUWASIT TRIJAKSUNG
Surgery Center
Doctor profile
Dr.UTAIN BOONORANA
Neuroscience Center
Doctor profile

More
Health articles
ข้อไหล่ติด อาการที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) คือ อาการที่เกิดจากข้อไหล่ที่ติดแข็ง จนไม่สามารถหมุนได้ตามปกติ และอาการมักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการยกของ, การหยิบจับวัตถุ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้หัวไหล่ เป็นต้น     ข้อไหล่ติด เกิดจากสาเหตุใด     ถุงหุ้มข้อไหล่ เกิดการอักเสบ         อายุ และเพศ พบได้บ่อยในผู้ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี และมักจะเกิดกับเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย     ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่บริเวณข้อไหล่      ผู้ที่เคลื่อนไหวได้น้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง     โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดข้อไหล่ติดได้มากกว่าปกติถึง 2 เท่า     ข้อไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร     อาการของข้อไหล่ติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้     ระยะเจ็บปวด     ผู้ป่วยจะมีอาการปวดถึงแม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใด โดยอาการเจ็บปวดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเวลาที่ล้มตัวลงนอน และเวลากลางคืน         ระยะข้อยึด     อาการปวดของผู้ป่วยจะบรรเทาลง แต่จะยังคงปวดอยู่ ระยะนี้จะส่งผลให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ที่จะใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น     ระยะฟื้นตัว     อาการปวดของผู้ป่วยจะค่อย ๆ บรรเทาลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ดีขึ้นตามลำดับ และกลับสู่สภาวะปกติ     การวินิจฉัยไหล่ติด     การเอกซเรย์ เพื่อดูกระดูก และเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณข้อต่อหัวไหล่ ทำให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้     การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI คือ การเอกซเรย์บริเวณหัวไหล่ เพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อ, กระดูก และน้ำไขข้อกระดูก      การตรวจเลือด ช่วยค้นหาสาเหตุจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน เพราะโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นข้อไหล่ติดมากกว่าผู้อื่น     ข้อไหล่ติด มีวิธีการรักษาแบบใด     การใช้ยารักษา เช่น ยาแก้ปวดที่ช่วยลดการอักเสบ ซึ่งยาบางชนิดอาจจะมีผลข้างเคียง ที่อาจส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วย จึงควรรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์         การกายภาพบำบัด หากทำการกายภาพบำบัด ตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น     การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 6 เดือน และการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว     การป้องกันข้อไหล่ติด         ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณหัวไหล่ และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ หากมีอาการปวด และเจ็บอย่างรุนแรง ให้ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำสำหรับการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับข้อไหล่ และผู้ป่วยยังสามารถออกกำลังกาย เพื่อบริหาร และป้องกันการเกิดข้อไหล่ติดได้เองที่บ้าน โดยมีวิธีการบริหาร ดังนี้     1.ท่าหมุนข้อไหล่     ให้ก้มหน้าลงเล็กน้อย และปล่อยแขนข้างที่มีอาการ ห้อยลงแบบตรง ๆ แล้วหมุนแขนในลักษณะวงกลมแบบช้า ๆ      2.ท่าบริหารกล้ามเนื้อไหล่ และสะบัก     ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง และยกไหล่ข้างที่มีปัญหาขึ้น ให้ถืออุปกรณ์เสริมที่ผู้ป่วยหาได้ใกล้ตัว และทำการยกน้ำหนักเท่าที่ไหว ในลักษณะขึ้นลงแบบช้า ๆ      3.ท่านิ้วไต่กำแพง     ให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพง จากนั้นนำฝ่ามือวางที่กำแพง และใช้นิ้วไต่ขึ้น ให้สูงที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยไหว      4.ท่าผ้าถูหลัง     ให้ใช้มือจับผ้า แล้วนำไปไว้ด้านหลัง ในลักษณะที่มือข้างหนึ่งอยู่ด้านบน และอีกข้างอยู่ด้านล่าง โดยให้ใช้มือข้างที่อยู่ด้านบน ดึงผ้าขึ้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่ไหว และค้างไว้ 10 วินาที     อาการข้อไหล่ติด เป็นปัญหาอย่างมากต่อผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องใช้ข้อไหล่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การยกของ, การหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น หากท่านมีอาการ และปล่อยทิ้งไว้เพื่อรอให้หายเองตามธรรมชาติ หรือการบริหารข้อไหล่ และการนวดแบบผิดวิธี อาจทำให้อาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้นได้ หากท่านมีอาการ และคิดว่าอาจจะเป็นข้อไหล่ติด ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำ และดำเนินการรักษาต่อไป    แหล่งอ้างอิง    โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://bit.ly/3xWUtE2   โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูก และข้อ kdms : https://bit.ly/4djB2Wk   Pobpad : https://bit.ly/3UmxObE   คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล : https://shorturl.asia/qVopt   อภิรักษ์การแพทย์ คลินิกกระดูก และข้อเชียงใหม่ : https://shorturl.asia/0Dopw     เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   เวชศาสตร์ฟื้นฟู   ทำอย่างไรเมื่อข้อไหล่หลุด (Shoulder Dislocations)
Read more
ท้องนอกมดลูก ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรเพิกเฉย
  ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ แล้วกลายเป็นตัวอ่อน และไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก ซึ่งการท้องนอกมดลูกอาจจะเห็นได้ชัด เมื่อมีการตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้     ท้องนอกมดลูก เกิดจากสาเหตุใด      ผู้ป่วยเคยมีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน     การใช้ห่วงคุมกำเนิด     เกิดจากความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังของท่อนำไข่         การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน     ฮอร์โมนในกระบวนการตั้งครรภ์ไม่สมดุล     ท้องนอกมดลูก มีอาการอย่างไร     ประจำเดือนขาด, อ่อนเพลีย, คัดเต้านม     มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดออกไม่มาก     ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน         มีอาการหน้ามืด, เป็นลม, เวียนศีรษะ     ในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดภายในช่องท้อง      ปวดบริเวณท้องน้อย, ไหล่, ลำคอ และทวารหนัก     สัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดการท้องนอกมดลูก     ปวดบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง      มีเลือดออกแบบกะปริบกะปรอย      เจ็บไหล่, ผิวซีด, หมดแรง      วิธีวินิจฉัยการท้องนอกมดลูก         แพทย์จะถามประวัติประจำเดือน และอาการต่าง ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่     ทดสอบการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะ     การตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน     การตรวจภายใน หากผู้ป่วยรู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณอุ้งเชิงกราน     การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่บริเวณหน้าท้อง และช่องคลอด     ท้องนอกมดลูกรักษาอย่างไร     การใช้ยา     แพทย์จะให้ยาเมโธเทรกเซทแก่ผู้ป่วย โดยเป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่สามารถเจริญเติบโตได้ หากการใช้ยาไม่ตอบสนองต่อผู้ป่วย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นวิธีการผ่าตัดในลำดับต่อไป     การผ่าตัด     แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง โดยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษเพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมท่อนำไข่ หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหาย แพทย์อาจพิจารณการผ่าตัดท่อนำไข่ออกมาด้วย      ภาวะแทรกซ้อน     หากมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด แพทย์อาจจะให้เลือดแก่ผู้ป่วย เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป หรือถ้าหากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากการอักเสบ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาลดอาการอักเสบ     วิธีป้องกันการท้องนอกมดลูก     สังเกตอาการขณะตั้งครรภ์ หากมีความผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที     ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์     หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้         ขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัยเสมอ     ท้องนอกมดลูก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่มีความอันตรายต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อพูดคุย และปรึกษาแนวทางในการดูแลตนเอง และทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณแม่ และทารก       แหล่งอ้างอิง    Pobpad : https://bit.ly/44b8ObX   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล : https://bit.ly/3Qa3i3t   โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ : https://bit.ly/3UsMt6B   ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : https://bit.ly/3WbWpCL   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   สูตินรีเวช   โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์   ครรภ์เสี่ยง อันตรายที่คุณแม่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง   ตั้งครรภ์ตอนอายุมากเสี่ยงอย่างไร
Read more
24
Emergency Service 24 Hours
58
IPD : Day
1500
Counter IPD/OPD : Month
45
Years of caring