คอบิดเกร็ง การเคลื่อนไหวบริเวณคอ และศีรษะที่ผิดปกติ
คอบิดเกร็ง การเคลื่อนไหวบริเวณคอ และศีรษะที่ผิดปกติ

คอบิดเกร็ง  (Cervical Dystonia) คือ การเคลื่อนไหวบริเวณคอ และศีรษะที่ผิดปกติ และมีอาการปวดคอ ปวดหัวไหล่ และไม่สามารถแหงนศีรษะขึ้น หรือก้มศีรษะลงได้ ซึ่งเกิดการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอ ทำให้ศีรษะเกิดการบิดหันข้างใดข้างหนึ่ง จนไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะได้ ซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของศีรษะ คอ ไหล่อยู่ผิดตำแหน่ง และเกิดอาการเจ็บปวดในที่สุด

 

 

สาเหตุในการเกิดคอบิดเกร็ง

 

ในการเกิดคอบิดเกร็ง ในทางการแพทย์ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะเกิดร่วมกับความผิดปกติเหล่านี้

      

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยคอบิดเกร็งมักจะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน

      

  • ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน

      

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งโดพามีน

      

  • โรคทางจิตเวช

      

  • อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ และหัวไหล่

 

 

อาการคอบิดเกร็ง

      

  • ค่อยๆ มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณคอ หรือหัวไหล่ บางครั้งจะมีอาการเจ็บปวดในขณะเอียงศีรษะ

      

  • ปวดศีรษะ

           

  • ศีรษะ และคอเกิดการสั่น

           

  • หูบิดเอียงไปทางหัวไหล่

      

  • คางบิดเอียงไปทางหัวไหล่

      

  • คางมีการเงยเชิดขึ้น หรือก้มต่ำลง

      

  • กล้ามเนื้อคอขยายใหญ่ บวม โตขึ้น

      

  • ไหล่ยก

           

  • มือสั่น

 

 

การวินิจฉัยคอบิดเกร็ง

      

  • การซักประวัติ

      

  • การตรวจร่างกาย

      

  • การตรวจโลหิต

      

  • การตรวจปัสสาวะ

      

  • การตรวจด้วยเครื่องสแกนคอมพิวเตอร์ (CT Scan)

      

  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

      

 

การรักษาคอบิดเกร็ง

 

การรักษาคอบิดเกร็ง

 

  • อาการคอบิดเกร็งสามารถทุเลาลง และหายได้เอง แต่เป้าหมายหลักในการรักษา คือการปรับองศาคอที่มีการบิดเกร็ง ให้เข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงแบบปกติมากที่สุด รวมทั้งลดอาการเจ็บปวด แพทย์จึงใช้วิธีการรักษาผู้ป่วยดังนี้

 

การใช้ยา

      

  • ยาต้านกลุ่มโคลิเนอจิก (Anticholinergic)

      

  • ยานอนหลับกลุ่ม Clonazepam

      

  • ยากันชักบางประเภท

      

  • การฉีดโบท็อกซ์เข้ากล้ามเนื้อบริเวณคอ (Botulinum Toxin)  เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว

 

การทำกายภาพบำบัดแบบ Sensory Tricks

           

  • โดยการใช้มือสัมผัสด้านตรงข้ามของใบหน้า หรือคาง และการใช้มือสัมผัสด้านหลังของศีรษะ หรือต้นคอ ร่วมกับการประคบร้อน การนวด หรือการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอ และหัวไหล่ บรรเทาอาการคอบิดเกร็งได้

 

การผ่าตัด

           

  • การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation : DBS)  การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และปล่อยสัญญาณไฟฟ้าเพื่อขัดขวางสัญญาณประสาทที่จะทำให้เกิดการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อ

      

  • การผ่าตัดเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณการหดตัวไปยังกล้ามเนื้อคอ และหัวไหล่

 

 

คอบิดเกร็ง

 

 

การป้องกันคอบิดเกร็ง

      

  • จัดท่านั่งให้เหมาะสม

      

  • เลือกหมอนที่มีความสูงพอดี โดยการนอนควรให้คออยู่ระดับเดียวกับศีรษะ

      

  • หลีกเลี่ยงการก้ม หรือเงยหน้าบ่อยๆ

      

  • หลีกเลี่ยงการแบกของหนักไว้บนหัวไหล่ เช่น การสะพายกระเป๋าที่มีของหนักเยอะๆ เป็นต้น

      

  • บริหารกล้ามเนื้อคอ ขณะทำไม่ควรไม่เร่งรีบ และรุนแรง

 

 

คอบิดเกร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักจะพบได้ในผู้หญิงกว่าผู้ชาย และผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป อีกทั้งอาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากมีภาวะเครียดร่วมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การเกร็งของกล้ามเนื้อขยายไปยังอวัยวะข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า แขน และลำตัว รวมทั้งการเกิดการตีบแคบของช่องว่างระหว่างกระดูกคอได้

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณเฉพาะจุดของไมเกรน (MIGRAINE)